โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องจัดการน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแหนมอย่างมีคุณค่า เพิ่มเงินตราให้กับครอบครัว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พันธุ์วงค์ คุณธนะวัฒน์

  • ภาณุพงศ์ วังประภา

  • อนุรักษ์ จันทร์คณา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เดชา ตาคำ

  • ไพรรุ่ง งามสมพรพงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนบน

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำทิ้ง

  • สาหร่าย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการบำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแหนม โดยนำมาใช้ประโยชน์เป็นลักษณะของปุ๋ยและเพาะเลี้ยงสาหร่าย อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองคือ น้ำทิ้งจากโรงงานแหนมที่มีความเข้มข้น 20 ,40 ,60 , 80 และ 100 % โดยนำมาเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองและนำมาใช้เป็นปุ๋ยให้กับผักบุ้งจีน เห็ดฟาง และเห็ดนางรม โดยทำการเปรียบผลการเจริญเติบโตและการลดลงของค่า BOD ของน้ำหลังจากทำการเลี้ยงสาหร่าย สรุปผลการทดลองพบว่า สามารถนำน้ำที่ทุกความเข้มข้นมาใช้ เพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งจะให้ผลผลิตสูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วๆ ไป เมื่อมีการเพิ่มสารเคมีบางตัวและใส่ปุ๋ย N-P-K ลงไปด้วย และยังทำให้ค่า BOD ลด 93 % จากความเข้มข้น 100 % และลดลง 66 % เมื่อน้ำจากโรงเรียนมีความเข้มข้น 20 % และยังพบว่าสามารถนำน้ำทิ้งทุกความเข้มข้นมาใช้แทนน้ำและปุ๋ยให้กับต้นผักบุ้งจีนได้ แต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาเพาะ เห็ดฟางและเห็ดนางรม ไม่ว่าจะใช้ความเข้มข้นเท่าใดก็ตาม