โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษจากเปลือกข่อย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ต015/2540 โครงงานนี้เป็นการทดลองนำวัสดุทางธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อใช้ทดแทนกระดาษที่มีขายตามท้องตลาด ซึ่งมีราคาแพงพอสมควร รวมทั้งการนำกระดาษที่ผลิตได้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่แพ้กระดาษโดยทั่ว ๆ ไป จากการทดลองพบว่า เปลือกข่อยสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษชนิดบางและชนิดหนาได้ กระดาษชนิดบางจะเห็นลายของเส้นใยชัดเจน สวยงามกว่าชนิดหนาเป็นเส้นลายเฉพาะตัวของกระดาษข่อย ส่วนชนิดหนาจะมีเนื้อกระดาษที่แน่นและแข็งแรงกว่า เมื่อนำกระดาษที่ได้จากเปลือกข่อยมาทดสอบการทนความร้อนพบว่า สามารถทนได้ดีเท่ากับกระดาษสา แต่ดีกว่ากระดาษธรรมดา เมื่อใช้ความร้อน 106 องศาเซลเซียส สำหรับความเหนียวพบว่ากระดาษเปลือกข่อยชนิดหนารับน้ำหักได้มากถึง 1630 กรัม ซึ่งใกล้เคียงกับกระดาษธรรมดา มีการดูดซับดีกว่ากระดาษโครมาโตกราฟฟี สำหรับการผลิตกระดาษออกมาเป็นแผ่น ๆ และเป็นกระดาษเรียบ คือ ตะแกรงไนลอน ซึ่งจะลอกออกได้ง่าย กระดาษเรียบดี มีความคงทนความร้อนดูดซึมสีได้ดี ไหม้ไฟช้า และมีความเหนียวกว่ากระดาษธรรมดามาก อีกทั้งยังสามารถนำกระดาษที่ได้ไปประดิษฐ์เป็นสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ประดิษฐ์ดอกไม้ ของชำร่วย ที่ติดตู้เย็น อัลบั้มภาพ และยังให้ความสวยงามตามธรรมชาติอีกด้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนิตา เสตรุณ
ฐิตินันท์ บุญประสาร
วาสนา จำรัส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฬาลักษณ์ นพคุณ
มนัสยา คูรัมย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(24) p71
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ
ข่อย
เปลือกไม้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์