โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปุ๋ยฟอสฟอรัสในใบสาบเสือ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • บัณฑิต จิรชีวะ

  • ปริญญา สันติสกุล

  • ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p75

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กบ การเลี้ยง

  • อีเอ็ม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดับที่ คง ต273/2539 จากแนวคิดของชาวเขา บ้านแม่แฮง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้ขี้เถ้าของใบสาบเสือมาทำเป็นปุ๋ยทดแทนปุ๋ยฟอสฟอรัส ผู้ทำลดลงมาก ตอนที่ 2 การทดลองเกี่ยวกับการกำจัดมลภาวะจากการเลี้ยงกบโดยใช้จุลินทรีย์ EM โดยการใช้บ่อเลี้ยงกบมีขนาดเท่ากัน ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองคือ กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1.20 เมตร แต่ละบ่อจะเลี้ยงกบบ่อละ 110 ตัว แล้วนำ EM ผสมลงไปในอาหารของกบชุดทดลอง ส่วนชุดควบคุมไม่ผสมและเปลี่ยนน้ำในบ่อเลี้ยงกบทุก ๆ 7 วัน โดยชุดทดลองผสม EM ลงไป ส่วนชุดควบคุมไม่ผสม พบว่า น้ำและกลิ่นจากบ่อเลี้ยงกบที่ใช้ EM จะขุ่นน้อยและมีกลิ่นน้อย ส่วนน้ำและกลิ่นจากบ่อเลี้ยงกบที่ไม่ใช้ EM จะขุ่นมากและมีกลิ่นเหม็นมากเมื่อนับจำนวนกบ 1 กิโลกรัม พบว่า จำนวนกบจากบ่อที่ให้อาหารผสม EM จะมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนกบจากบ่อที่ไม่ใช้ EM ผสม เมื่อนับอัตราการตายพบว่า อัตราการตายของกบจากบ่อที่ใช้ EM มีอัตราการตายน้อยกว่ากบจากบ่อที่ไม่ใช้ EM ตอนที่ 3 การทดลองเกี่ยวกับ น้ำ ของเสีย และน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกบมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งจีน โดยการปลูกผักบุ้งจีนลงไปในกะบะที่มีขนาดเท่ากัน 3 กะบะ กะบะที่ 1 รดน้ำผสมปุ๋ยเคมี กะบะที่ 2 รดน้ำจากบ่อกบที่ไม่ใช้ EM กะบะที่ 3 รดน้ำจากบ่อเลี้ยงกบที่ใช้ EM พบว่าผักบุ้งที่รดด้วยน้ำจากบ่อเลี้ยงกบที่ใช้ EM มีการเจริญเติบโตดีกว่าผักบุ้งที่รดน้ำผสมปุ๋ยเคมี และผักบุ้งที่รดน้ำจากบ่อเลี้ยงกบที่ไม่ใช้ EM จากการทดลองสรุปได้ว่า ถ้ามีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงกบโดยใช้จุลินทรีย์ EM จะสามารถแก้ไขปัญหาการตายของกบ การเจริญเติบโต ความสมบูรณ์ และน้ำหนักของกับได้ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจุลินทรีย์ EM จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ให้เพิ่มผลผลิตของกบ และลดการขาดทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกบได้