โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการใช้มดคันไฟควบคุมหนอนชอนเปลือกต้นลองกอง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้มดคันไฟในการควบคุมหนอนชอนเปลือกต้นลองกอง และหาประสิทธิภาพในการควบคุม วัสดุที่ใช้ได้แก่ ปลาเค็ม ไส้ปลาสด เนื้อมะพร้าว เงาะ กากมะพร้าว กล้วย และหัวปลาสด วิธีการทดลองโดยใช้อาหารจากวัสดุที่เตรียมไว้ ทำการล่อมดคันไฟ เพื่อดูประสิทธิภาพในการล่อมดคันไฟของวัสดุแต่ละชนิด การทดลองถัดมาทำการล่อมดคันไฟโดยใช้วัสดุที่เหมาะสมและติดตามความสามารถในการกำจัดหนอน ชอนเปลือกต้นลองกอง เป็นเวลา 9 วัน ผลการทดลองพบว่า อาหารที่ใช้ล่อมดคันไฟได้ดีที่สุดคือ ปลาเค็ม เนื่องจากเป็นอาหารที่ส่งกลิ่นได้แรงสุด รองลงมาได้แก่ ไส้ปลาสด เนื้อมะพร้าวและหัวปลาสด ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนของมดคันไฟพบว่า 3 วันกำจัดได้ 53.7 % 6 วันกำจัดได้ 64 % และ 9 วันกำจัดได้ 62.3 % และยังพบว่า มดคันไฟไม่ว่าขนาดใดๆ จะไม่ทำลายส่วนต่างๆ ของต้นลองกอง และมดคันไฟสามารถป้องกันการทำลายของต้นลองกองได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นฤมล เพ็งบูรณ์

  • พิราวรรณ นุ้ยเกลี้ยง

  • อุทุมพร หมัดดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพัทลุง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พืชสวน

  • มด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์