โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำสารส้มจากเศษกระป๋องอะลูมิเนียม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัคพงษ์ ภักดีงาม
วัฒนชัย ยั่งยืน
วุฒิชัย เรืองกลัด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(24) p77
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระป๋องอะลูมิเนียม
สารส้ม การผลิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป013/2540 จากสมมุติฐานที่ว่า ถ้าผลึกสารส้มมีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมอยู่ด้วย ดังนั้นเศษอะลูมิเนียมเหลือใช้ ก็สามารถนำมาใช้ทำเป็นสารส้มได้ ผู้ทำโครงงานจึงได้ทำโครงงานนี้ขึ้น จากการทดลองพบว่า กระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้แล้ว สามารถนำมาทำสารส้มได้ โดยนำมาต้มกับสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้ KOH(aq)+Al(s)+H2O--->KAL(OH)1(aq) จากนั้นเติมกรดซัลฟิวริก (H2SO4) จะได้สารละลายใสกับตะกอนสีขาว แล้วกรองตะกอนมาต้มกับน้ำได้สารละลายใสแล้วทิ้งไว้ให้ตกผลึกโดยมีเศษผลึกสารส้มเป็นตัวล่อ อัตราส่วนที่ใช้ของสารต่าง ๆ มีดังนี้คือ AL:KOH:H2SO4 เป็น 6:100:50 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ให้สารส้มได้มากที่สุด ความเข้มข้นที่เหมาะสมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และกรดซัลฟิวริก 20 และ 6 mol/l ตามลำดับ สารส้มที่ได้จากกรรมวิธีนี้จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารส้มทั่วไปตามท้องตลาด