โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นเยื่อคอมโพสิตชนิดยางพาราแบคทีเรียลเซลลูโลส
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการทำแผ่นเยื่อที่สามารถแทนหนัง ผ้า และพลาสติก ที่ใช้ในงานหัต-กรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนาคุณภาพของแบคทีเรียลเซลลูโลสจากวัสดุเหลือทิ้งคือน้ำมะพร้าวแก่มาทำการเพาะเลิ้ยงแบคทีเรียลเพื่อให้ได้เส้นใยเซลลูโลส ได้เพิ่มความแข็งแรงต่อแรงดึงและการฉีกขาด เพิ่มความยืดหยุ่นต่อการสัมผัส ด้วยการใช้แบคทีเรียลเซลลูโลสปั่นละเอียดเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างเส้นใยในการคอมโพสิตกับสารที่เติมลงไปทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของสารเพิ่มขึ้น ใช้เทนนินจากเคี่ยมเป็นสารเชื่อมขวางในการยึดเกาะของเส้นใยเซลลูโลสให้แน่นขึ้น ทำการผสมกับน้ำยางพาราข้น 60% เพื่อความเหนียวทนต่อการฉีกขาด เพิ่มประสิทธิภาพในการเกิดเมนเบรนจากยางธรรมชาติคอมโพสิตด้วยไททาเนียมไดออกไซด์ ลดความเหนียวหนืดของผิวสัมผัสโดยใช้แคลเซี่ยมคาร์บอเนต ใช้ระยะเวลาในการอบแห้งที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง แผ่นเยื่อคอมโพสิตที่ได้มีคุณสมบัติโดดเด่นคือ ทำความสะอาดได้ง่าย ราและแบคทีเรียไม่เจริญ เนื้อเยื่อจะไม่ฉีกขาดถึงกัน สามารถนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม กระเป๋า และเครื่องหนัง อื่น ๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พรสุ พงศ์ธีระวรรณ
ภานุกร คงไสยะ
วชิระ มีวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยางพารา
แบคทีเรียลเซลลูโลส
แผ่นเยื่อคอมโพสิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์