โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาสารสกัดจากแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) โดยวิธีการสกัด 3 วิธี ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคโทบาซิลลัส (Lactobacillus L.)

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาสารสกัดจากแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) โดยวิธีการสกัด 3 วิธี ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคโทบาซิลลัส (Lactobacillus L.) มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสารจากแก่นตะวัน โดยวิธีการสกัด 3 วิธี ได้แก่ การสกัดด้วยน้ำ การสกัดโดยใช้คลื่นอัลตราโซนิค (Ultrasonically assisted extraction) การสกัดโดยใช้เอนไซม์ Accellerase 1500 ทำการตรวจสอบคุณภาพสารสกัดโดยวัดน้ำตาลรีดิวซ์ ด้วยวิธี DNS Method พบว่า สารสกัดแก่นตะวันที่ได้จากวิธีการสกัดด้วยน้ำ มีค่าการดูดกลืนแสง 0.469 รองลงมาคือ สารสกัดแก่นตะวันโดยวิธีการใช้เอนไซม์ Accellerase 1500 และการใช้คลื่นอัลตราโซนิค มีค่าเฉลี่ยการดูดกลืนแสง คือ 0.046 และ 0.012 ตามลำดับ แสดงว่าวิธีการสกัดด้วยน้ำ มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์มากที่สุด เมื่อทำการตรวจสอบ ค่า Rf โดยใช้วิธีโครโมโทกราฟฟีแบบเยื่อบาง พบว่าสารสกัด จากแก่นตะวัน ที่สกัดได้จาก 3 วิธี มีค่า Rf เท่ากัน ซึ่งเท่ากับสารอินูลิน เมื่อนำสารสกัดแก่นตะวันจากการสกัดทั้ง 3 วิธีมาทำการทดสอบประวิทธิภาพที่มีต่อผลการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคโทบาซิลลัส พบว่าสารสกัดจากแก่นตะวันที่ได้จากวิธีสกัดด้วยน้ำ 5% มีประสิทธิภาพ ต่อการเพิ่มการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคโทบาซิลลัส ได้ดีที่สุด เมื่อนำสารสกัดแก่นตะวันที่สกัดด้วยวิธีสกัดด้วยน้ำมาผสมลงในโยเกิร์ตที่ระดับความเข้มข้น 5% 10% 15% พบว่ามีคุณภาพทางเคมีใกล้เคียงกับโยเกิร์ตสูตรต้นแบบ แต่มีปริมาณแบคทีเรียแลคติกมากกว่า โคโลนี และโยเกิร์ตที่ระดับความเข้มข้น 5% มีคุณภาพทางกายภาพได้แก่ ค่าความหนืด และระดับความพึงพอใจใกล้เคียงกับโยเกิร์ตสูตรต้นแบบซึ่งเป็นความเข้มข้นของสารสกัดแก่นตะวันที่เหมาะสมต่อการนำไปผลิตทางการค้ามากที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จินดารัตน์ วรรณโก

  • ณัฐณิชา เมืองหมุด

  • พลอยฝน บุญก่อ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลกันยานุกูล

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทชีวภาพภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • แก่นตะวันสารสกัด

  • แบคทีเรียการเจริญเติบโต

  • แลคโทบาซิลลัส

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์