โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของสารสกัดแอสตาซินจากเปลือกกุ้งต่อการยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลบนเปลือกผลลิ้นจี่ในระหว่างการเก็บรักษา

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดแอสตาแซนธินจากเปลือกกุ้งต่อการยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลิ้นจี่ในระหว่างการเก็บรักษา โดยทำการสกัดสารแอสตาแซนธินจากเปลือกกุ้งแม่น้ำด้วยมากกว่า acetone และ iso-propanol พบว่า iso-propanol ให้ปริมาณแอสตาแซนธินมากกว่า acetone การทดลองต่อมาได้ศึกษาผลของสารสกัดแอสตาแซนธินจากเปลือกกุ้งต่อการควบคุมการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลิ้นจี่ โดยนำผลลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ์จุ่มในน้ำร้อน 94"C นาน 15 วินาที ก่อนจุ่มในสารสกัดแอสตาแซนธิน 10, 20, 30, 40และ 50 ppm เป็นเวลา 5 นาที เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25"Cนาน 7 วัน ในทุกๆวันจะสุ่มผลมาวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆพบว่า การมีประสิทธิภาพในการลดการเกิดสีน้ำตาล ลดการสูญเสียน้ำหนัก ป้องกันการเน่าเสีย และมีคุณภาพการบริโภคดีกว่าชุดอื่นๆ และชะลอการเกิดสีน้ำตาลได้นานกว่าการจุ่มกรดอะซิติกถึง 2 วัน โครงงานนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ เนื่องจากสามารถเก็บรักษาลิ้นจี่ภายหลังการเก็บเกี่ยวได้นานมากยิ่งขึ้น และช่วยลดสารเคมีตกค้างในผลไม้สู่ผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิดาภา ธรรมยอย

  • ฌิชนันทน์ สุนันทา

  • ศุภโชค ปินคำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กุ้ง เปลือก

  • ลิ้นจี่ เก็บรักษา

  • แอสตาซิน สารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์