โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการสกัดสีย้อมธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นสำหรับการย้อมเนื้อเยื่อพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธัชนน์ สงกลิ่น
ธัญมน ทับเมือง
อภิชา เพชรรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น เหรียญทองแดง ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การย้อมสี
พืช การสกัดสี
พืช สีย้อม
พืช เนื้อเยื่อ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพืชในท้องถิ่นที่จะนำมาสกัดสารเพื่อนำมาย้อมเนื้อเยื่อพืช ศึกษาวิธีการสกัดสี ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างใบพืชกับตัวทำละลายและเปรียบเทียบคุณภาพของสีที่สกัดได้กับสีที่ขายในท้องตลาด จากการศึกษาสามารถแบ่งพืชออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้สารสีแดงหรือสารเบทาเลน 3 ชนิดคือ ดอกอัญชัญ เปลือกแก้วมังกร และดอกคุณนายตื่นสาย กลุ่มที่ให้สารสีเขียว 4 ชนิดคือ ใบหูกวาง ใบคนทีสอทะเล ใบสาบเสือ ใบผักหวาน และเมื่อศึกษาวิธีการสกัดสีแดง พบว่าตัวทำละลายที่สกัดสีได้ดีที่สุดคือ เอทานอล ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเอทานอลกับคุณนายตื่นสายพบว่าอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตรย้อมสีได้ดีที่สุดทำให้มองเห็นส่วนประกอบของเซลล์ของลำต้นหมอน้อยได้ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสีที่สกัดได้กับสีที่ขายในท้องตลาดคือสี Safranin O สีแดงจากต้นคุณนายตื่นสายมีสีใกล้เคียงกับสี Safranin O และเมื่อศึกษาวิธีการสกัดสีเขียวพบว่าตัวทำละลายที่สกัดเอทานอลสีได้ดีที่สุด เมื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมเอทานอลกับใบคนทีสอทะเล พบว่า 1:1 โดยปริมาตรย้อมสีได้ดีที่สุดทำให้มองเห็นส่วนประกอบของเซลล์ลำต้นเฟื่องฟ้าได้ดีที่สุด เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีที่สกัดได้กลับสีที่ขายในท้องตลาดคือสีFAST GREEN พบว่าสีที่สกัดได้คือสีเขียวจากใบคนทีสอทะเล มีสีใกล้เคียงกับสี FAST GREEN