โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแล็กเกอร์เคลือบผิวไม้จากเกล็ดปลากะพงขาว
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเกล็ดปลาและกรดที่เหมาะสมต่อการนำมาสกัดสารเจลตินให้ได้ปริมาณมากที่สุด ศึกษาความเข้มข้นของกรดแอซิติกในการสกัดสารเจลลาตินให้ได้ปริมาณมากที่สุด ศึกษาระยะเวลาในการตากเกล็ดปลากะพงเพื่อให้ได้สีที่เหมาะสม ศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการนำมาละลายต่อเจลลาติน ศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของเจลลาตินต่อตัวทำละลายเมทานอลสำหรับทำขึ้นเทียบกับแล็กเกอร์เคลือบผิวไม้ เทียบกับแล็กเกอร์ที่ขายในท้องตลาด ศึกษาการนำแล็กเกอร์จากเกล็ดปลากะพงไปทา ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่จัดทำขึ้น ผลการศึกษาพบว่า เกล็ดปลาที่เหมาะสมต่อการนำมาสกัดสารเจลตินมากที่สุดคือเกล็กปลากะพงขาว กรดที่เหมาะสมคือ กรดแอซิติก โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมของกรดแอซิติก ต่อการนำมาสกัดสารเจลลาตินมากที่สุดคือ ความเข้มข้น 6% โดยเจลลาตินที่สกัดได้จากเกล็ดปลากระพงคิดเป็นร้อยละ 8.87 ค่า PH 7.6-7.8 ลักษณะของสารที่สกัดได้สารสีเหลืองอ่อนอมน้ำตาล เหนียวหนืด ระยะเวลาในการตากเกล็ดปลากะพงเพื่อนำมสกัดสารเจลตินให้ได้สี ที่เหมาะสมต่อการนำมาทำแล็กเกอร์เคลือบผิวไม้ได้ดีที่สุดคือ 1-30 วัน นางสาวฟารียา จันทนุภา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ดกษฏาพร ดวงประทุม
ฝนดาว คำสุวรรณ
ฟารียา จันทนุภา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปลากระพงขาว เกล็ด
แล็กเกอร์ การผลิต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์