โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการผลิตสายรัดข้อมือผู้ป่วยจากน้ำยางพารา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วสวัตติ์ ทิ้งบริรักษ์
ศุภรดา โภคบุตร
โชติกามาศ ตันตาปกุล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยางพารา
สายรัดข้อมือ การผลิต
สิ่งประดิษฐ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรรูปน้ำยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ ลดปัญหาการใช้พลาสติก โดยศึกษาสูตรยางคอมเปาด์ที่เหมาะสม ศึกษาความเข้มข้นของสารช่วยให้ยางจับพิมพ์ ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการวัลคาไนซ์ ศึกษาแนวทางการหล่อยางด้วยชนิดของแบบพิมพ์ที่ต่างกัน ศึกษาชนิดของน้ำยางในการผลิตสายรัดข้อมือผู้ป่วย ศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ และศึกษาอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์กับกลุ่มตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่าสูตรยางคอมเปาด์ที่ศึกษาทั้งหมด 6 สูตร จะให้ชิ้นยางที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป โดยพบว่าสูตรยางของคอมเปาด์สูตรที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยใช้สารแคลเซียมคลอไรด์เป็นสารจับพิมพ์ที่มีความเข้มข้น10% มีความเหมาะสมที่สุด ใช้เวลาในการวัลคาไนซ์ 210 นาที ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส โดยใช้แบบพิมพ์ที่เป็นถาดอลูมีเนียม เมื่อใช้นำยางข้น 60% จะสามารถหล่อยางได้ง่ายกว่ายางสด โดยมีระยะเวลาที่ยางแห้งเร็วกว่าใช้น้ำยางสดและเมื่อทดสอบการใช้พบว่าสามารถใช้แทนสายรัดข้อมือแบบพลาสติกที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการบวมตามร่างกายสายรัดข้อมูลผู้ป่วยจากยางพาราสามารถยืดหยุ่นได้ตามการบวนข้อมือ และผลการทดสอบอาการแพ้ต่อสายรัดข้อมือผู้ป่วยจากยางพาราครั้งนี้เท่านั้น 1.33%