โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษอาหารกับผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยวรรณ ซะพนิจ
วรรณทร มงคลสระ
อังคณา จิตรผ่อง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กรรณาภรณ์ โทนทอง
สมบูรณ์ แก้วเขียว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 วิทยาศาสตร์เกษตร ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p66
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การหมัก
ก๊าซชีวภาพ
ผักตบชวา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงการนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษอาหารเปลือกผลไม้และผักตบชวา เพื่อศึกษาว่าวัสดุชนิดใดที่ให้ประมาณก๊าซชีวภาพได้มากกว่า โดยการนำเศษอาหาร เปลือกผลไม้และผักตบชวา มาหมักประมาณ 1-2 วัน อ่านประมาตรของก๊าซโดยการแทนที่น้ำ จะพบว่าก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษอาหาร จะมีประมาณก๊าซมากที่สุด รองลงมาได้แก่เปลือกผลไม้และผักตบชวา ต่อจากนั้นจึงนำเศษอาหารมาหมักที่อุณหภูมิต่างๆ เช่น บริเวณห้องปรับอากาศ (25 องศา) บริเวณห้องเรียน (30 องศา) และบริเวณหน้าเสาธง (50 องศา) เป็นเวลา 1-2 วัน พบว่าก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษอาหาร ณ บริเวณหน้าเสาธง (50 องศา) มีประมาณมากที่สุด ต่อจากนั้นจึงเลือกหมักเศษอาหารที่บริเวณหน้าเสาธง (50 องศา) โดยจัดสภาพความเป็นกรด-เบส ให้ต่างกันดังนี้ เป็นกรด (pH = 4) เป็นกลาง (pH = 7) เป็นเบส (pH = 10) หมักไว้ประมาณ 1-2 วัน พบว่าก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษอาหารที่เป็นกลาง (pH = 7) จะได้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากที่สุด รองลงมาได้แก่เป็นเบส (pH = 10) และเป็นกรด (pH = 4) ตามลำดับ ดังนั้น ก๊าซชีวภาพจะมีปริมาณมากที่สุด เมื่อหมักเศษอาหารที่บริเวณหน้าเสาธง (50 องศา) ในสภาพเป็นกลาง