โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับเสียงจากเส้นใยดอกธูปฤๅษี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นนทวัช ประดิษฐวัฒนา
วรรณรัตน์ เขมะศิริ
เชื่อมลักษณ์ พานทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญเงิน ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ธูปฤาษี เส้นใย
แผ่นซับเสียง การทดลอง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นซับเสียงจากเส้นใยดอกธูปฤๅษี ซึ่งแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 เพื่อศึกษาชนิดของตัวประสานที่เหมาะในการขึ้นรูปแผ่นซับเสียง โดยเลือกศึกษาจากตัวประสาน 2 ชนิด ได้แก่ กาวลาแท็กซ์ และกาวแป้งมัน พบว่า แผ่นซับเสียงจากเส้นใยดอกธูปฤๅษีที่ใช้กาวลาแท็กซ์เป็นตัวประสานสามารถขึ้นรูปได้ตามแบบพิมพ์ เส้นใยดอกธูปฤๅษีจับตัวเป็นแผ่น ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเส้นใยดอกธูปฤๅษีต่อตัวประสานในการขึ้นรูปแผ่นซับเสียง พบว่า อัตราส่วน 200:30 g/cm3 สามารถขึ้นรูปตามแบบพิมพ์ได้ และใช้ระยะเวลาในการแห้งเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 5 ชั่วโมง ตอนที่ 3 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับเสียงของแผ่นซับเสียงจากเส้นใยดอกธูปฤๅษี โดยจะเลือกศึกษา 4 ปัจจัย ได้แก่ 1.) ด้านความหนา พบว่า แผ่นซับเสียงจากเส้นใยดอกธูปฤๅษีที่มีความหนา 2 cm สามารถดูดซับเสียงได้ดีกว่า 1 cm 2.) ด้านลักษณะเนื้อของแผ่นซับเสียง เลือกศึกษา 3 ลักษณะ ได้แก่ เนื้อละเอียดมาก, เนื้อละเอียดปานกลาง และเนื้อหยาบ พบว่า แผ่นซับเสียงเนื้อละเอียดมาก สามารถดูดซับเสียงได้ดีกว่าเนื้อละเอียดปานกลาง และเนื้อหยาบ 3.) ด้านรูปร่างของแผ่นซับเสียง เลือกศึกษา 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบเรียบ, แบบลอนเล็ก และแบบลอนใหญ่ พบว่า แผ่นซับเสียงแบบลอนเล็ก สามารถดูดซับเสียงได้ดีกว่าลอนใหญ่ และแบบเรียบ 4.) ด้านการวางของแผ่นซับเสียง เลือกศึกษา 3 แบบ ได้แก่ วางแนวตั้ง, วางแนวนอน และวางแนวทแยง พบว่า แผ่นซับเสียงที่วางในแนวตั้งสามารถดูดซับเสียงได้ดีกว่าแผ่นซับเสียงที่วางในแนวนอน และแนวทแยง