โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการหารูปแบบตัวอักษรในการพิมพ์หนังสือราชการที่ใช้หมึกพิมพ์น้อยที่สุด โดยการพิจารณาความถี่ของตัวอักษรและค่าคาดหมาย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้รณรงค์ให้หน่วยงานราชการของประเทศไทยใช้รูปแบบตัวอักษรในกลุ่ม SIPA ผู้จัดทำมีข้อสงสัยว่าการใช้รูปแบบอักษรในกลุ่ม SIPA ทำให้ประหยัดทรัพยากรมากน้อยเพียงใด จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบหารูปแบบตัวอักษรที่นิยมใช้ในการพิมพ์หนังสือราชการและใช้หมึกในการพิมพ์น้อยที่สุด ในการศึกษา ผู้จัดทำได้ทำการสำรวจหนังสือราชการที่ส่งมายังงานสารบรรณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ว่าใช้รูปแบบอักษรใดมากที่สุด พบว่า มีรูปแบบตัวอักษรที่นิยมใช้ในการพิมพ์หนังสือราชการทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ TH SarabunPSK, TH Niramit AS และ Angsana New ตามลำดับ จากนั้นใช้กระบวนการแยกเฉดสีจากรูปแบบตัวอักษรทั้งสามรูปแบบเป็นเฉดสี จาก 0-255 ซึ่ง 0 หมายถึง เฉดสีที่เข้มที่สุด (สีดำ) และ 255 หมายถึง เฉดสีที่อ่อนที่สุด (สีขาว) โดยการตั้งค่าการพิมพ์ตัวอักษรที่พิมพ์จากแต่ละรูปแบบตัวอักษรที่ขนาดเดียวกันและความหนาเดียวกัน ผู้ศึกษาได้ทำการสุ่มเลือกตัวอย่างหนังสือราชการ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2551 เพื่อหาว่าใช้อักขระใด ในเอกสารดังกล่าวเป็นปริมาณเท่าใด แล้วเลือกตัวอักษรหรือสระที่มีความถี่มากกว่าหรือเท่ากับ 10,000 เพื่อเปรียบเทียบว่าถ้าพิมพ์เอกสารดังกล่าวด้วยรูปแบบตัวอักษรทั้งสามรูปแบบ รูปแบบใดจะใช้หมึกพิมพ์น้อยที่สุด จากการศึกษาพบว่าหนังสือราชการที่พิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK ใช้หมึกพิมพ์น้อยที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กศิเดษ ไชยเขียว

  • ณัฐพัชร์ เชาว์ธีระเจริญ

  • ธมนวรรณ วิริยะชัยศิริกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศรายุทธ วิริยะคุณานันท์

  • เป็นหญิง โรจนกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ตัวอักษร รูปแบบ

  • หมึกพิมพ์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์