โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องFatih Biodiesel

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำมันเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มนุษย์นำมาใช้และมีความต้องการใช้สูงขึ้น จึงได้ศึกษาหาทรัพยากรธรรมชาติรูปแบบอื่นมาใช้แทน โดยใช้น้ำมันหมูที่ใช้แล้ว น้ำมันหมูที่ยังไม่ได้ใช้ และน้ำมันพืช มาหาปริมาณกรดไขมันอิสระ พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 0.97, 0.35 และ 0.11 ตามลำดับ จากนั้นนำน้ำมันมาทำให้เป็นน้ำมันเอสเทอร์ (Ester) โดยวิธีทางเคมีที่เรียกว่า ทรานเอสเทอร์ฟิเคชั่น (Transesterification) ซึ่งจะเกิดการตกตะกอน ตะกอนที่ได้เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง Methanol กับ กรดไขมันอิสระที่อยู่ในน้ำมัน และมี Sodium methoxide เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ใช้เวลาในการทำปฏิกิริยาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นตั้งทิ้งไว้จนเห็นการแยกชั้น สารละลายชั้นบนคือ น้ำมัน เอสเทอร์ ส่วนชั้นล่างจะเป็นตะกอนซึ่งประกอบไปด้วย สบู่ กลีเซอรีน และตัวเร่งปฏิกิริยา โดยน้ำมันหมูที่ใช้แล้วมีการตกตะกอนมากที่สุด รองลงมาคือน้ำมันหมูที่ยังไม่ได้ใช้ และน้ำมันพืช ตามลำดับ โดยน้ำมันที่มีปริมาณกรดไขมันอิสระมากที่สุดจะเกิดตะกอนมากที่สุด จากนั้นจึงแยกน้ำมันไปทดสอบว่าสามารถติดไฟหรือไม่ ซึ่งพบว่าน้ำมันทั้ง 3 ชนิดสามารถติดไฟได้ทั้งหมด แต่มีปริมาณเขม่าเกิดมาก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พรชัย คำทุน

  • ยัสริบ เชื้อตำรวจ

  • สุดแดน แซ่หลิน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • Karacam, Omer Faruk

  • คงศักดิ์ บุญยะประณัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิชัยวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำมันดีเซล

  • น้ำมันพืช

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์