โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพาะเห็ดขอนขาว
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดขอนขาวให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยแบ่งการทดลองเป็นดังนี้ ตอนที่1 ศึกษาการเดินของเชื้อเห็ดเมื่อใช้วัสดุต่างกัน คือ ขี้เลื่อยไม้มะม่วง, ขี้เลื่อยไม้ยางพารา และขี้เลื่อยไม้มะขาม พบว่าเชื้อเห็ดสามารถเดินได้ดีในขี้เลื่อยไม้ยางพารา และขี้เลื่อยไม้มะขาม ตอนที่2 ศึกษาการเจริญเติบโตและปริมาณของดอกเห็ดในก้อนเพาะเห็ดที่มีส่วนผสมของภูไมท์ พบว่าก้อนเพาะเห็ดที่ใส่ภูไมท์ได้ดอกเห็ดปริมาณมากกว่าก้อนเพาะเห็ดที่ไม่ได้ใส่ภูไมท์ ตอนที่3 ศึกษาอัตราส่วนของภูไมท์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณของดอกเห็ด พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ภูไมท์ 300 กรัม : ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม ตอนที่4 ศึกษาปริมาณของรำอ่อนที่เป็นอาหารเสริมของดอกเห็ด พบว่าอัตราส่วนของรำอ่อนที่เหมาะสมและดีที่สุด คือ รำอ่อน 12 กิโลกรัม : ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม ตอนที่5 ศึกษาเปรียบเทียบการเดินของเชื้อเห็ดและการเจริญเติบโตของดอกเห็ดระหว่างขี้เลื่อยไม้ยางพารา และขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมไม้มะขาม พบว่าการเดินของเชื้อเห็ดมีระยะทางเฉลี่ยเท่ากัน และการเจริญเติบโต(วัดจากน้ำหนักเฉลี่ยของดอกเห็ด)เท่ากัน ดังนั้นสามารถใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมไม้มะขามได้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ตอนที่6 ศึกษาการเดินเชื้อของเห็ดเมื่อใช้ตัวเร่งต่างชนิดกัน คือน้ำแช่ข้าว กลูโคส นมสด และน้ำมะพร้าวอ่อน เป็นส่วนผสม พบว่า ตัวเร่งทั้ง 4 ชนิดมีผลต่อการเดินของเชื้อเห็ดเท่าๆกัน จากการศึกษาทั้งหมดสามารถนำมาประยุกต์เป็นก้อนเพาะเห็ดไฮเทคได้ และก้อนเห็ดไฮเทคนี้เพาะเห็ดได้จริงและเห็ดมีการเจริญเติบโตและมีปริมาณของดอกเห็ดมากกว่าก้อนเพาะเห็ดทั่วไป
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐวัฒน์ พิมพะนิตย์
วิปัสสนา เถาว์ชาลี
ศิรินันท์ กุลชาติ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์