โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพาะเมล็ดพันธุ์หวาย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กนกวรรณ คนหาญ

  • ธิดารัตน์ เครือเทียน

  • สุขสวัสดิ์ ประเสริฐสังข์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบัวขาว

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • หวาย การเพาะพันธุ์

  • เกษตรกรรม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หวายเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกเพื่อเป็นอาหารและเพื่อใช้ทำเครื่องใช้ในครัวเรือนหรือสิ่งประดิษฐ์อีกมากมายซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีราคาแพง หวายจึงมีปริมาณลดลงการขยายพันธุ์หวายเพื่อจำหน่ายประสบปัญหาเรื่องความล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการของตลาดการเพาะพันธุ์ด้วยเมล็ดจะใช้เวลาในการงอกนานและมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำโดยเฉพาะในฤดูแล้งจึงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนและการดูแลรักษา การศึกษาทดลองเพื่อแก้ปัญหาการเพาะเมล็ดหวายในช่วงเดือนตุลาคม ถึง เดือนมิถุนายนได้ผลดังนี้ 1.การเพาะเมล็ดหวายในแปลงเปิดกลางแจ้งโดยใช้วัสดุเพาะต่างๆกันคือดินทราย ดินขุยไผ่แกลบเผา ขุยมะพร้าว รดน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น พบว่าในวัสดุเพาะทุกชนิดมีระยะการงอกนาน 7-8 เดือนและมีเปอร์เซ็นการงอกไม่เกิน 33 %จัดอยู่ในระดับต่ำ โดยเพาะวัสดุเพาะที่เป็นดินขุยไผ่ และขุยมะพร้าว มีเปอร์เซนต์การงอกสูงกว่าวัสดุเพาะชนิดอื่นๆ การเพาะด้วยวิธีดังกล่าวนี้พบปัญหาหลายประการ เช่น ใช้เวลาการงอกนานเปอร์เซ็นการงอกต่ำ การเพาะด้วยวิธีดังกล่าวนี้พบปัญหาหลายประการ เช่น ใช้เวลาการงอกนานเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ เป็นภาระในการรดน้ำสม่ำเสมอ 2.การเพาะเมล็ดหวายในภาชนะปิดโปร่งแสง แบ่งเป็นชุดทดลองกลางแจ้ง กับชุดทดลองในร่มในแต่ละชุดใช้วัสดุเพาะ 2 แบบคือ ดินขุยไผ่ และขุยมะพร้าวพบว่าชุดทดลองทุกชุดสามารถลดระยะเวาลาการงอกเหลือเพียง 4-5 เดือนชุดทดลองที่อยู่ในร่มทุกชุดมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ส่วนชุดทดลองที่อยู่กลางแจ้งทุกชุดมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ 3.1การเพาะเมล็ดหวายด้วยวิธีเปิดจุดงอกที่เปลือกหุ้มเมล็ดก่อนนำไปเพาะในภาชนะปิดโปร่งแสงซึ่งอยู่ในที่ร่มและใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุเพาะผลพบว่า เมล็ดหวายที่เฉือนบริเวณขั้นของเมล็ดเท่านั้นที่มีผลการงอก คือ สามารถลดระยะเวาลาการงอกเหลือประมาณ3-4สัปดาห์ และมีเปอร์เซ็นต์การงอกในระดับปานกลาง สำหรับเมล็ดหวายที่เฉือนบริเวณปลายของเมล็ด และที่เฉือนบริเวณข้างของเมล็ดไม่ปรากฏผลการงอกเลย 3.2การเพาะเมล็ดหวายด้วยวิธีการะตุ้นระยะพักตัวด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 40,50,60,70 องศาเซลเซียส และน้ำที่อุณหภูมิปกติเป็นเวลา 3 นาทีก่อนนำไปเพาะในภาชนะปิดโปร่งแสงซึ่งอยู่ในที่ร่มและใช้ ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุ ผลพบว่าเมล็ดหวายที่ถูกกระตุ้นระยะพักตัวด้วยความร้อนอุณหภูมิ 60องศาเซลเซียส ปรากฏผลการงอกดีที่สุด คือ สามารถลดระยะเวลาการงอกเหลือเพียง 3-4 สัปดาห์เท่านั้นและมีเปอร์เซ็นการงอกปานกลาง 3.3การเพาะเมล็ดหวายด้วยวิธีเปิดจุดงอกที่เปลือกหุ้มเมล็ดบริเวณขั้ว แล้วกระตุ้นระยะพักตัวด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 40,50,60,70และน้ำที่อุณหภูมิปกติเป็นเวลา 3 นาทีก่อนนำไปเพาะในภาชนะปิดโปร่งแสงซึ่งอยู่ในที่ร่ม และใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุเพาะ ผลพบว่าเมล็ดที่เปิดจุดงอกบริเวณบริเวณขั้วแล้วกระตุ้นระยะพักตัวด้วยความร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ปรากฏผลการงอกดีที่สุดคือสามารถลดระยะเวลาการงอกเหลือเพียง1-3สัปดาห์นั้นและมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงมาก