โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถุงเพาะเมล็ดปลอดมลภาวะ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้เป็นวัสดุทำถุงเพาะต้นกล้าแทนพลาสติก โดยการนำน้ำจากผลตะโกดิบมาชุบกระดาษเพื่อให้กระดาษมีความเหนียวไม่เปื่อยยุ่ยง่ายเมื่อโดนน้ำ แล้วนำกระดาษที่ได้จากการแช่ มาทำเป็นถุงเพาะต้นกล้าแทนถุงพลาสติก จากการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของน้ำจากผลตะโกดิบที่ทำให้กระดาษมีความทนทานต่อการเปื่อยยุ่ยได้ดีที่สุดคือผลตะโกดิบหั่นละเอียด 400 กรัม ต่อน้ำ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร และต้องแช่กระดาษนาน 10 วินาทีขึ้นไป จากนั้นนำกระดาษไปทำเป็นถุงเพาะต้นกล้า แล้วเปรียบเทียบกับถุงเพาะต้นกล้าพลาสติก พบว่าถุงเพาะต้นกล้าที่ทำจากกระดาษแช่น้ำผลตะโก สามารถใช้แทนถุงพลาสติกได้ และยังสามารถย่อยสลายได้ในดินทุกชนิด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปวิตรา โสภาพล

  • วารุณี ชินหงษ์

  • อมรรัตน์ ใจศิริ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบัวขาว

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การประดิษฐ์ด้วยกระดาษ

  • สิ่งประดิษฐ์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์