โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของเศษวัสดุและวัชพืชบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของพืชในดินทราย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเก็บรักษาความชื้นของเศษวัสดุและวัชพืชแต่ละชนิด เศษวัสดุและวัชพืชที่ใช้ได้แก่ ฟาง ขุยมะพร้าว ผักตบชวา แกลบ หญ้าแห้ง ขี้กบ ขี้เลื่อย เมล็ดข้าวโพด อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ กรรไกร ไม้บรรทัด ไม้เมตร ตราชั่ง มาผสมในดินเพื่อดูความสามารถในการเก็บรักษาความชื้นในดินทรายและช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ขั้นตอนที่ 1 คือ นำวัสดุที่เตรียมไว้มาคลุกผสมกับดิน รดน้ำให้ชุ่มแล้วไปวางไว้กลางแจ้ง จากนั้นทำการชั่งน้ำหนักและทำเช่นเดียวกันกับวัสดุอื่นๆ แต่ละชนิด ขั้นที่ 2 นำขุยมะพร้าว แกลบ และหญ้าแห้งมาผสมกัน เพื่อหาวัสดุรักษาความชื้นที่ดีที่สุด และขั้นตอนที่ 3 หาสัดส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวและแกลบว่าอัตราส่วนใดสามารถรักษาความชื้นในดินได้มากที่สุด ขั้นตอนที่ 4 สังเกตการเปลี่ยนแปลงจากการใช้วัสดุคลุมดินที่เตรียมขึ้น ผลการทดลองพบว่า ขุยมะพร้าวและแกลบสามารถรักษาความชื้นในดินได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่หญ้าแห้ง ผักตบชวา ขี้กบ ขี้เลื่อย และฟางตามลำดับ และส่วนผสมของวัสดุที่สามารถรักษาความชื้นในดินได้ดีที่สุดคือ ส่วนผสมระหว่างขุยมะพร้าวและแกลบ และอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างขุยมะพร้าวและแกลบที่รักษาความชื้นในดินได้ดีที่สุดคือ ขุยมะพร้าว 15 กรัม ผสมกับแกลบ 15 กรัม จากการศึกษาพบว่า การใช้วัสดุคลุมดินที่คิดขึ้นพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีจากการเพาะด้วยเมล็ด และถ้ายิ่งมีปริมาณขุยมะพร้าวมากก็จะสามารถรักษาความชื้นในดินได้มากขึ้นตามลำดับ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฑามณี ตรีวิบูลย์วณิชย์

  • เด็กพิม สุขพูล

  • เด็กไพลิน จินากูล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • บุญชิด กระจายกลาง

  • อรวรรณ รัมพณีนิล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสิรินธร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชนะเลิศ ลำดับที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ความชื้น

  • เศษวัสดุ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์