โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของแมลงก้นกระดก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตรติมา ชูสุริแสง
พัชรพร กลิ่นหอม
สหัสา ชนะเกียรติ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลเชิดชูเกียรติ ประเภทชีวภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
สิ่งแวดล้อม
แมลงก้นกระดก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นโรงเรียนประจำ ซึ่งหอพักนักเรียนตั้งอยู่บริเวณที่เป็นทุ่งนาร้างขนาดใหญ่ และแอ่งน้ำ ซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแมลงต่างๆ โดยเฉพาะแมลงก้นกระดกหรือด้วงน้ำมัน ซึ่งมีอันตรายต่อนักเรียนโดยที่แมลงชนิดนี้จะมีสารที่มีความเป็นกรดอยู่บริเวณก้น หากสัมผัสโดนน้ำกรดนั้นจะทำให้เกิด แผลพุพองคล้ายแผลไฟไหม้ ซึ่งแผลเหล่านี้ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นและยังเป็นแผลเป็นอีกด้วย โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของแมลงก้นกระดก สำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงก้นกระดก บริเวณหน้าหอพัก3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ศึกษาลักษณะทางกายภาพในแหล่งที่พบการอาศัยอยู่ ของแมลงก้นกระดกโดยการวัดอุณหภูมิ ความสัมพัทธ์ และสำรวจสภาพอากาศ พบว่าลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมมีผลต่อการดำรงชีวิตของแมลงก้นกระดก โดยช่วงเวลาที่พบแมลงก้นดกมากที่สุด อยู่ระหว่าง 19.00น. - 20.00น. โดยจากการสำรวจทั้งหมดพบว่า ในช่วงสัปดาห์ที่2 เป็นเวลาที่พบแมลงก้นกระดกมากที่สุด โดยพบแมลงก้นกระดกแปลงละประมาณ 28-29 ตัว ที่อุณหภูมิประมาณ 24-26 ๐c ความชื้นสัมพัทธ์ 82-83% สภาพอากาศฝนตกหนัก อากาศหนาว และ pH ของดินและ pH ของน้ำในพื้นที่ศึกษามีความใกล้เคียงกัน แมลงก้นกระดกมีการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ตัวเต็มวัย จากการวิจัยทำให้เราสามารถป้องกัน ไม่ให้ได้รับพิษจากแมลงก้นกระดก และยังช่วยเหลือสังคมบริเวณที่เป็นทุ่งนาใกล้โรงเรียนไม่ให้ได้รับสารพิษดังกล่าวด้วย