โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพของชุดอุปกรณ์ดูดซับสีในน้ำทิ้งจากการย้อมผ้าด้วยพลังงานน้ำ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสีในน้ำทิ้งจากสีย้อมผ้าด้วยเยื่อกระดาษที่ใช้แล้ว ร่วมกับเครื่องดูดอากาศด้วยพลังงานน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการกำจัดสีย้อมผ้าชนิดรีแอกทีฟออกจากน้ำทิ้งจากสีย้อมผ้าโดยใช้หลักการดูดซับ (Adsorption) ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ชนิดเยื่อกระดาษ สารฟอกเยื่อกระดาษ ปริมาณรูปแบบของเยื่อกระดาษ จำนวนครั้งที่ใช้ดูดซับ วิธีการดูดอากาศด้วยแรงดันจากน้ำ และขนาดขวดน้ำ ระดับความเข้มข้นและปริมาณแผ่นเยื่อกระดาษ ทำการทดลองโดยการนำกระดาษโรเนียวข้อสอบที่ใช้แล้วทำเป็นแผ่นเยื่อกระดาษที่ผ่านการฟอกแล้ว นำไปดูดซับสีน้ำทิ้งจากสีย้อมผ้าด้วยวิธีการกรอง จากนั้นวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดูดซับสีย้อมผ้าโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงของน้ำทิ้งจากสีย้อมผ้าก่อนและหลังการดูดซับด้วย เครื่อง spectrophotometer รุ่น SD 810 ผลการทดลอง พบว่า แผ่นเยื่อกระดาษที่ผ่านการฟอกแล้วมีประสิทธิภาพการดูดซับมากที่สุด 71.360± 1.030 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการไหล 0.066± 0.027 มิลลิลิตร/วินาที เนื่องจากการกรองน้ำสีด้วยเครื่องกรองมีอัตราการไหลของน้ำที่ช้า จึงประดิษฐ์เครื่องดูดอากาศด้วยพลังงานน้ำขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มอัตราการไหลของน้ำ จากนั้นทำการศึกษาการเพิ่มอัตราการไหลของน้ำที่ผ่านการดูดซับสีในน้ำทิ้งจากการย้อมผ้า พบว่า การดูดอากาศที่มีแรงดันจากขวดน้ำ 7.0 ลิตร ช่วยเพิ่มอัตราการไหลของน้ำสีในการดูดซับด้วยเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วดีที่สุด 0.034± 0.000 มิลลิลิตร/วินาที จากนั้นเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างระดับความเข้มข้นของสีย้อมผ้ากับจำนวนแผ่นเยื่อกระดาษที่มีแรงดันจากขวดน้ำ พบว่าเมื่อความเข้มข้นของน้ำสีย้อมผ้ามากจะต้องจำนวนแผ่นเยื่อกระดาษมากขึ้น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐนันท์ คันโธ
ปัญญาวุฒิ สุขสำราญ
สิทธิชัย เทพเดช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การย้อมผ้า
พลังงานน้ำ
สิ่งประดิษฐ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์