โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องฟองน้ำจากซังข้าวโพดเพื่อปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องฟองน้ำจากซังข้าวโพดเพื่อปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ มีวัตถุประสงค์ คือศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพของเปลือกมะนาว ซังข้าวโพด และแกนสับปะรดเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตฟองน้ำ สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติ และสมบัติของฟองน้ำที่ผลิตขึ้น โดยนำเปลือกมะนาว ซังข้าวโพด และแกนสับปะรด มาแช่ด้วยกรดอะซิติกและโซเดียมคลอไรต์ พบว่า เซลลูโลสจาก ซังข้าวโพดได้ปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือเปลือกมะนาว และแกนสับปะรดปริมาณน้อยที่สุด จากนั้นำไปแช่ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 1, 3 และ 5 ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที เปรียบเทียบกับปริมาณเซลลูโลสที่ได้จากการแช่โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 3, 5 และ 7 อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที พบว่า เซลลูโลสจากซังข้าวโพดที่ปรับสภาพด้วยโซเดียม ไฮดรอกไซด์มีปริมาณเซลลูโลสมากกว่าที่ปรับสภาพด้วยกรดอะซิติก โซเดียมคลอไรต์ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพ คือ การแช่ซังข้าวโพดด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร แล้วปรับสภาพเป็นวิสคอสที่ความเข้มข้นร้อยละ 15, 25 และ 35 ขึ้นรูปเป็นฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติในกรดซัลฟิวริกเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริมาตร พบว่า ฟองน้ำเส้นใยธรรมชาติที่ความเข้มข้นวิสคิสร้อยละ 35 มีค่าในการดูดซับน้ำและร้อยละของการพองตัวสูงสุด จึงเลือกวิสคอสร้อยละ 35 มาเติมเส้นใยกล้วย และซิงค์ออกไซด์ ทำให้โครงสร้างของฟองน้ำแข็งแรงขึ้น เมื่อนำไปผลูกผักไฮโดรโปนิกส์สามารถเจริญเติบโตได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วรัญญา ใหม่นิ่ม

  • วันวิสาข์ สารพงษ์

  • สลิลทิพย์ เสนะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุลธิดา ขันสุข

  • ปัญญาลักษณ์ เคารพพงศ์

  • มนต์ตรา ไกรนรา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ข้าวโพดซัง

  • พืชการปลูก

  • ฟองน้ำ

  • ไฮโดรโปนิกส์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์