โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาความเหมาะสมของการนำดอกหญ้าขจรจบ (Pennisetum pedicellatum, Trin.) มาใช้ในการดูดซับคราบน้ำมันในแหล่งน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธัญชนก ลิ้มอสัมภินกุล

  • พุฒิ พงศ์มานะวุฒิ

  • สิริสุดา จิโรจน์กุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำ

  • น้ำมันการดูดซับ

  • หญ้าขจรจบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้เป็นการศึกษาความเหมาะสมของการนำดอกหญ้าขจรจบ (Pennisetum pedicellatum, Trin.) มาใช้ในการดูดซับคราบน้ำมันในแหล่งน้ำ จากการศึกษาพบว่าช่อดอกแห้งสามารถดูดซับน้ำมันพืชได้ดีกว่าช่อดอกสด ส่วนช่อดอกที่มีอายุต่างกันสามารถดูดซับน้ำมันพืชได้ไม่แตกต่างกัน และช่อดอกอบแห้งสามารถดูดซับน้ำได้น้อย แต่ดูดซับน้ำมันดิบได้มาก แต่เมื่อนำไปทดสอบดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำพบว่าสามารถดูดซับน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นและดูดซับน้ำได้ลดลง และพบว่าดอกหญ้าขจรจบดูดซับน้ำมันดิบได้มากกว่าดอกธูปฤาษี และใช้เวลาในการอบดอกหญ้าขจรจบที่เหมาะสมคือ 1.5 ชั่วโมง ที่ 60 C เมื่อนำดอกหญ้าขจรจบไปทำเป็นทุ่นและแผ่นวัสดุดูดซับ พบว่ามีความหนาแน่นของทุ่นดูดซับมีผลต่อการดูดซับน้ำมันและเมื่อนำดอกหญ้าไปปั่นขึ้นรูปเป็นแผ่นยังมีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ดีและดูดซับน้ำได้น้อย และทุ่นวัสดุดูดซับสามารถดูดซับน้ำมันชนิดต่างๆ คือ น้ำมันดิบ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และน้ำมันหล่อลื่น ดูดซับได้ 11.29 ± 0.47, 24.86 ± 0.51, 11.17 ± 0.54 และ 20.60 ± 0.44 เท่าของน้ำหนัก ตามลำดับ และเมื่อนำทุ่นวัสดุดูดซับไปทดลองใช้ซ้ำ พบว่า ทุ่นวัสดุดูดซับให้ผลการดูดซับน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ทั้ง 7 ครั้งที่ทดลองซ้ำ และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับของวัสดุที่ทำกับทุ่นวัสดุดูดซับสังเคราะห์พบว่าให้ผลการดูดซับน้ำมันดิบไม่แตกต่างกัน และเมื่อทดลองดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำพบว่าให้ผลการดูดซับไม่แตกต่างกัน เมื่อนำวัสดุดูดซับไปใช้จริง พบว่าทุ่นวัสดุดูดซับสามารถนำไปใช้เก็บกักน้ำมันที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำทิ้งได้ และแผ่นวัสดุดูดซับสามารถดูดซับน้ำมันที่หกบนพื้นได้อย่างสะอาด และสามารถนำวัสดุที่ใช้แล้วไปอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิงได้