โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการหาระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาของศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน นครศรีธรรมราช โดยใช้ข่ายงาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนาพร นิลพนธุ์
ชนิกานต์ หนูช่วย
วิมลรัตน์ จันทร์ทิน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บุญเสริฐ จันทร์ทิน
ภารดี สุขอนันต์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การจักสาน
ย่านลิเภา
หัตถกรรม
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการสร้างผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาที่ศูนย์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน นครศรีธรรมราช วัดหมนโดยใช้ข่ายงานนั้น ศึกษาขึ้นเพื่อหาระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าเงินและกระเป๋าสะพายย่านลิเภา เนื่องจากผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภานั้นเป็นงานฝีมือซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำค่อนข้างนาน เพราะต้องอาศัยความปราณีตในการทำ ซึ่งการนำเรื่องข่ายงานเข้ามาช่วยในการจัดลำดับขั้นตอนในการทำผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภานั้นจะช่วยให้การผลิตกระเป๋าเงินและกระเป๋าสะพายขององค์กรรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาการผลิต โดยจากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ากระเป๋าเงินจักสานย่านลิเภา มีระยะเวลาที่น้อยที่สุดในการทำงานนี้ คือ 95 ชั่วโมง ซึ่งจากเดิม 124 ชั่วโมง และวิถีวิกฤตของงานนี้คือ V_1 ,V_2 ,V_3 ,V_5,V_6,V_7 ,V_9 ,V_10,V_11,V_12,V_13,V_14,V_15,V_16,V_17 ,V_18 ,V_21 และจากกระเป๋าสะพายจักรสานย่านลิเภา มีระยะเวลาที่น้อยที่สุดในการทำงานนี้ คือ 69 ชั่วโมง ซึ่งจากเดิม 104 ชั่วโมง และวิถีวิกฤตของงานนี้คือ V_1, V_2, V_8, V_9, V_10, V_11, V_12, V_13, V_14, V_15, V_16, V_17, V_18 และการสร้างผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาโดยใช้การวางแผนจากข่ายงานจะช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตด้านค่าแรงงานได้เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับการสร้างผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาแบบปกติ