โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการดูดซับน้ำมันปาล์มใช้แล้วด้วยวัสดุธรรมชาติ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เป็นการศึกษาแนวทางหนึ่งในการบำบัดน้ำเสียขั้นเตรียมการ (Pretreatment) เพื่อช่วยบำบัดคุณภาพน้ำเสียชุมชนที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและกิจกรรมที่เป็นอาชีพ เช่น น้ำเสียที่เกิด่จากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายภายในครัวเรือนและอาคารที่ปล่อยทิ้งประมาณร้อยละ 80 จึงมีวัตถุประงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันปาล์มใช้แล้วด้วยวัดสดุธรรมชาติชนิดต่าง ๆ คือ ใบและผลของมะพร้าว ใบและผลของตาลโตนด ใบลาน ผลหมาก ใบและกาบของไผ่ ใบและดอกของธูปฤาษี เปลือกข้าวโพด ใบตะไคร้ ใบและผลของหญ้าตีนกา โดยใช้พืชแห้งที่ปั่น 1 กรัมทดสอบความสามารถการดูดซับน้ำมันปาล์มใช้แล้ว 10 กรัม ในระยะเวลา 10 นาที ผลการศึกษาพบว่า วัสดุธรรมชาติแต่ชนิดมีความสามารถในการดูดซับน้ำมันปาล์มใช้แล้วต่างกัน เมื่อพิจารณาความสามารถของวัสดุธรรมชาติที่สามารถดูดซับน้ำมันปาล์มใช้แล้วร้อยละ 80 ขึ้นไป พบว่า ขุยมะพร้าว มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันปาล์มใช้แล้วได้ดีที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทิตา กาละ
ภาชินี ทองด้วง
อัญชิษฐา วงศ์กระจ่าง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปาล์มการดูดซับ
ปาล์มน้ำมัน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์