โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องต้นกล้วยช่วยปลา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐกานต์ กาบศรี
ธมลวรรณ คำลือเกียรติ์
ฤทัยรัตน์ คำลอ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ต้นกล้วย
ปลา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ต้นกล้วยช่วยปลา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรับค่า ph ของบ่อปูนโดยใช้ส่วนต่างๆ ของกล้วยน้ำว้า ดังนี้ ใบกล้วย ก้านกล้วย และลำต้นกล้วย ดำเนินการทดลอง 2 ขั้นตอน ตอนที่ 1 ทดลอง 3 ครั้ง โดยการสร้างบ่อปูนขึ้นมา 4 บ่อ ให้มีขนาดเท่าๆกันคือ 20×20×20 ซม. จากนั้นใส่น้ำลงไปในบ่อปูนทั้ง 4 บ่อ ให้มีปริมาณน้ำที่เท่ากัน คือ 5,000 ลบ.ซม. ทิ้งไว้ 1 วัน และนำเครื่อง ph มิเตอร์ไปวัดค่า phของแต่ละบ่อ บ่อปูนบ่อที่1 เป็นบ่อควบคุม นำใบกล้วย ก้านกล้วย และลำต้นกล้วยปริมาณ 500 กรัม ใส่ลงไปในบ่อปูนบ่อที่ 2, 3, 4 ตามลำดับ และวัดค่าแต่ละบ่อเป็นเวลา 10 วัน ผลการทดลองพบว่า บ่อที่ 1 มีค่า ph เฉลี่ยเท่ากับ 9.8 บ่อที่ 2 มีค่า ph เฉลี่ย 9.3 บ่อที่ 3 มีค่า ph เฉลี่ยเท่ากับ 9.1 และบ่อที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7 ตอนที่ 2 ทำบ่อปูนขึ้นมาอีก 4 บ่อ ให้มีขนาดเท่าๆ กัน 20×20×20 ซม. ปริมาณน้ำเท่ากัน คือ 5,000 ลบ.ซม. แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุดๆละ 2 บ่อ ให้บ่อปูนบ่อที่ 1 ของชุดที่ 1 และ 2 เป็นบ่อควบคุม(ไม่ใส่ลำต้นกล้วย) และบ่อที่ 2 ของชุดที่ 1 และ 2 ใส่ลำต้นกล้วยประมาณ 500 กรัม ทิ้งไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นเปลี่ยนน้ำในบ่อใหม่ทั้ง 4 บ่อ โดยเติมน้ำลงไป บ่อละ 5,000 ลบ.ซม. ทิ้งไว้ 1 วัน วัดค่า ph ของแต่ละบ่อและนำปลามา 2 ชนิด คือ ปลาดุกบิ๊กอุยและปลาหางนกยูงมาเลี้ยงในบ่อปูนทั้ง 4 บ่อ บ่อละ 10 ตัว โดยบ่อชุดที่ 1 ใช้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย และบ่อที่ 2 ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นเวลา 1 เดือน ผลการทดลองพบว่า ปลาดุกที่เลี้ยงไว้ในบ่อที่ 1 ชุดที่ 1 วันที่ 3 ปลามีรอยแผลถลอกจำนวน 4 ตัว วันที่ 4 ปลามีรอยแผลถลอกเพิ่มจำนวน 3 ตัว วันที่ 5 ปลามีรอยแผลถลอกเพิ่มขึ้น 3 ตัว วันที่ 10 ปลาตายจำนวน 4 ตัววันที่ 13 ปลาตายจำนวน 5 ตัว และวันที่ 16 ปลาตายจำนวน 1 ตัว แต่ปลาดุกและปลาหางนกยูงที่เลี้ยงไว้ในบ่อที่ 2 ของชุดที่ 1 และชุดที่ 2 วันที่ 1-30 ไม่มีรอยแผลถลอกตามลำตัวและปลามีชีวิตทุกตัว