โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลของสารสกัดจากใบกระดุมทองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-galli)

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการลงพื้นที่สำรวจแปลงนาข้าวของเกษตรกรพบว่า หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-galli) เป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากใบกระดุมทองต่อการยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชดังกล่าว โดยเปรียบเทียบผลของตัวทำละลายในการสกัดสารจากใบกระดุมทองด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิดคือ เมทธานอล น้ำและเฮกเซน แล้ววัดเปอร์เซ็นต์การงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยวัดความยาวยอด รากและน้ำหนักแห้ง พบว่าน้ำเป็นตัวทำละลายในการสกัดสารที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีผลยับยั้งการงอกเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นหญ้าข้าวนกได้สูงกว่า เมทธานอลและเฮกเซน จากนั้นทดสอบอัตราส่วนของใบกระดุมทองแห้งต่อน้ำ (กรัมต่อลิตร) ที่มีผลในการยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของหญ้าข้าวนกได้ดีที่สุด โดยใช้อัตราส่วนดังนี้ 50:1, 100:1, 150:1 และ 200:1 พบว่า อัตราส่วน 100:1 เป็นอัตราส่วนที่น้อยที่สุดที่มีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดหญ้าข้าวนกได้ 100% และยังมีผลให้ความยาวของรากและน้ำหนักแห้งลดลงด้วย และเมื่อนำสารสกัดความเข้มข้นดังกล่าวไปทดสอบกับข้าวต้นกล้า พบว่าไม่มีผลทำให้ข้าวมีอัตราการเจริญเติบโตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม การทดลองนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาสารในการกำจัดวัชพืชในนาข้าวในอนาคตต่อไปได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืช สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการเกษตรที่ยั้งยืน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชาลินี จันต๊ะ

  • ธีรดา มาลานัน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • เกียรติศักดิ์ อินราษฎร

  • เยาวลักษณ์ บุญหัตถ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • หญ้าข้าวนกการงอก

  • ใบกระดุมทองสารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์