โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยผสมเส้นใยธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธันยธรณ์ ทองรักษ์

  • ภูมิพร ธเนศอนันต์

  • วริษฐา จิโน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทกายภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เส้นใยธรรมชาติ

  • แป้งกล้วย

  • โฟมการพัฒนา

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการพัฒนาโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยผสมเส้นใยธรรมชาติ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของแป้งกล้วยน้ำว้าเพื่อการขึ้นรูปโฟมชีวภาพ ชนิดของเส้นใย (ชานอ้อย เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว) ที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยน้ำว้า อัตราส่วนที่เหมาะสมของเส้นใยในการขึ้นรูปโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยน้ำว้า และอัตราส่วนของน้ำยางพาราที่เหมาะสมในการขึ้นรูปโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยน้ำว้า โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาความเหมาะสมของแป้งกล้วยน้ำว้าเพื่อการขึ้นรูปโฟมชีวภาพ พบว่าแป้งกล้วยที่เหมาะสมในการขึ้นรูปเป็นภาชนะได้จะต้องผสมกับสตาร์ชแป้งดัดจากแป้งมันสำปะหลัง ตอนที่ 2 ศึกษาชนิดของเส้นใย (ชานอ้อย เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว) ที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยน้ำว้า พบว่าเส้นใยที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูปโฟมชีวภาพ คือเส้นใยจากชานอ้อย เนื่องจากมีคุณสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลเหมาะที่สุด ตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเส้นใยในการขึ้นรูปโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยน้ำว้า พบว่า ร้อยละของปริมาณเส้นใยชานอ้อยที่ผสมในแป้งที่ใช้ในการขึ้นรูปมีผลสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกล โดยเมื่อปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการดูดซึมน้ำลดลง เนื้อโฟมชีวภาพมีลักษณะเรียบมีฟองอากาศน้อย เส้นใยกระจายสม่ำเสมอ เหมาะสมต่อการขึ้นรูปโฟมชีวภาพ ตอนที่ 4 ศึกษาอัตราส่วนของน้ำยางพาราที่เหมาะสมในการขึ้นผิวหน้าของโฟมชีวภาพจากแป้งกล้วยน้ำว้า พบว่าการเติมน้ำยางพาราในกระบวนการขึ้นรูปโฟมชีวภาพ พบว่าฟองอากาศที่ขึ้น ส่วนการดูดซึมน้ำพบว่าจะมีค่าลดลง เพื่อปริมาณน้ำยางพาราเพิ่มขึ้น การดูดซับน้ำ พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อในส่วนผสมได้ดี และเมื่อพิจารณาค่าความทนต่อแรงพบว่าการเติมน้ำยางพาราร้อยละ 2 ชิ้นงานมีความทนต่อแรงมากที่สุด