โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาสภาวะและคุณสมบัติของเพคตินที่สกัดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวและการประยุกต์ใช้ = The study of condition and pectin property from green Roselle and apply
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ประติภา จีนะสอน
วริศนา มโนนัย
สิริภรณ์ คลังชำนาญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระเจี๊ยบเขียวการสกัด
เพคติน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสกัดเพคตินจากฝักกระเจี๊ยบเขียวและการประยุกต์ใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการสกัดเพคตินจากกระเจี๊ยบเขียว สมบัติทางเคมีและสมบัติทางกายภาพของเพคตินที่สกัดได้เปรียบเทียบทางการค้า และการขึ้นรูปพลาสติกชีวภาพด้วยเพคตินที่สกัดจากผลกระเจี๊ยบเขียว โดยการแบ่งการทดลองเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 พบว่า ชนิดของกรดมีผลต่อปริมาณเพคติน โดยปริมาณเพคตินจากผลกระเจี๊ยบเขียวที่สกัดกรดไฮดรอคลอริกมีร้อยละของเพคตินที่สกัดได้มากที่สุด 9.97±0.02 ตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีและสมบัติทางกายภาพของเพคตินที่สกัดได้เปรียบเทียบกับเพคตินการค้า โดยดูตามข้อกำหนดมาตรฐานของเพคตินตามที่ The Joint/WHO Expert Committee on Food Additive (JECFA) วิเคราะห์ค่าสีพบว่า ค่าความสว่างเฉลี่ยเท่ากับ 66.41± 1.63 ค่า a* เฉลี่ย 7.46±1.62 เป็นโทนสีแดงอ่อน และค่า b* เฉลี่ย 26.97±1.79 เป็นโทนสีเหลืองอ่อน ตอนที่ 3 การเตรียมพลาสติกชีวภาพจากการนำเพคตินที่สกัดได้จาก ฝักกระเจี๊ยวเขียวผสมกับแป้งมันสำปะหลัง (ในอัตราส่วน 1:2) ในส่วนของโครงสร้างหลักและกลีเซอรอล 15% ที่ทำหน้าที่เป็นพลาสติไซเซอร์ พบว่าพลาสติกชีวภาพที่ได้จะเรียบเนียบ มีสีเหลืองอ่อนๆ ค่อนข้าวขาว มีความหนาอยู่ระหว่าง 0.0137-0.0249 mm มีค่าความต้านทานแรงดึงเฉลี่ย 13-20 N/mm2 ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำเฉลี่ย 34-42 วินาที