โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของกระถางเพาะพันธุ์พืชจากมวลชีวภาพ The Effect of Plant Pot from Biomass on Plant Growth
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การปลูกพืชที่ต้องเพาะชำต้นกล้าหรือเพาะเมล็ดในกระถางหรือถุงเพาะชำที่มำจากพลาสติก เมื่อจะย้ายต้นกล้าลงปลูกในดินจะต้องฉีกถุงเพาะชำหรือนำต้นกล้าออกจากกระถางพลาสติก ทำให้กระทบกระเทือนต่อต้นกล้า และส่งผลต่อการเจริญเติบโต และยังเกิดปัญหาขยะพลาสติกจากถุงเพาะชำที่ฉีกทิ้ง ส่วนดินหรือวัตถุดิบและถุงเพาะชำสำหรับเพาะต้นกล้าที่ขายตามร้านอุปกรณ์การเกษตร อาจมีแร่ธาตุหรือสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ผู้ศึกษาจึงนำมวลชีวภาพมาพัฒนาใช้ในรูปแบบกระถางเพาะพันธุ์พืช ทดแทนถุงเพาะชำและกระถางพลาสติก เพื่อลดปัญหาดังกล่าว โดยศึกษามวลชีวภาพที่มีคุณสมบัติในการขึ้นรูปกระถางเพาะพันธุ์พืช ศึกษาคุณสมบัติดูดซึมน้ำ การพองตัวตามความหนาเมื่อแช่น้ำ ความทนทานของกระถาง และการคงสภาพของกระถางเพาะพันธุ์พืชจากมวลชีวภาพ และศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นพริกที่เพาะในกระถางเพาะพันธุ์พืชจากมวลชีวภาพกับถุงเพาะชำและกระถางพลาสติก หลังย้ายปลูกลงดิน ผลการศึกษาพบว่า มวลชีวภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ในการขึ้นรูปกระถางเพาะพันธุ์พืช ได้แก่ กากชาและมูลวัวแห้ง โดยมีกาวแป้งเปียกเป็นตัวประสาน อัตราส่วนของมวลชีวภาพที่เหมาะสมในการขึ้นรูปกระถางเพาะพันธุ์พืช ได้แก่ อัตราสาวน 1 : 1 : 4 โดยมวล (กากชา : มูลวัวแห้ง : กาวแป้งเปียก) เพราะว่ามีคุณสมบัติยึดเกาะประสานกันได้ดี และต้นพริกที่เพาะในกระถางเพาะพันธุ์พืชจากมวลชีวภาพ เมื่อนำปลูกลงดินมีการเจริญเติบโตดีกว่า ต้นพริกที่เพาะในถุงเพาะชำและการะถางพลาสติก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนิษฐนาฏ ถาวรยุทธเดช
ชนัญธิดา ยองแสงจันทร์
ณัฐฐิรา ดอนจุ้ย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระถางพืช
การเพาะพันธุ์พืช
มวลชีวภาพ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์