โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาสมบัติของแผ่นอัดจากวัสดุธรรมชาติ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเส้นใยและเตรียมแผ่นอัดจากวัสดุธรรมชาติชนิดต่าง ๆ และศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติของแผ่นอัดจากวัสดุธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ได้แก่ บ (ซด) 10, บ (ซด) 15, บ (ซด) 20, บ (น) 10, บ (น) 15, บ (น) 20, ก (ซด) 10, ก (ซด) 15, ก (ซด) 20, ก (น) 10, ก (น) 15, ก (น) 20, ส 10, ส 15 และ ส 20 ผลการศึกษาพบว่า เส้นใยจากวัสดุธรรมชาติที่ผ่านการปรับขนาดเส้นใยด้วยการปั่นด้วยเวลา 10 วินาที สามารถนำมาขึ้นเป็นแผ่นอัดได้ทุกชนิดเส้นใย โดยมีลักษณะพื้นผิวแผ่นอัดค่อนข้างเรียบ-เรียบ ยกเว้น แผ่นอัด บ (น) 10, ก (น) 10 และ ส 10 มีลักษณะผิวหยาบ แผ่นอัดจากเส้นใยในกลุ่มที่ผ่านการแช่สารละลาย NaOH มีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นอัดจากเส้นใยกลุ่มที่ผ่านการต้มในน้ำเดือดและกลุ่มที่ไม่ได้ปรับเส้นใย และเส้นใยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีการเดียวกัน เส้นใยที่ปั่นด้วยเวลานานกว่า แผ่นอัดจะมีความหนาแน่นมากกว่า แผ่นอัด บ (ซด) 20 มีเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำและเปอร์เซ็นต์การพองตัวตามความหนาแน่นเมื่อแช่น้ำน้อย แผ่นอัดจากเส้นใยที่สารละลาย Borax มีสมบัติไม่เกิดการเผาไหม้หรือสามารถหยุดการลามไฟได้เอง และแผ่นอัดจากวัสดุธรรมชาติที่มีความทนแรงดันมากที่สุด คือ แผ่นอัด ก (ซด) 20

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฒณวรรษ ชุติดาราลักษณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญทอง ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • วัสดุธรรมชาติ

  • เส้นใย

  • แผ่นอัด คุณสมบัติ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์