โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาสภาพต้านทานไฟฟ้าบริเวณหลุมยุบโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42จังหวัดสตูล
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กัญชพร ราชสงฆ์
ปิยากร มุสิกุล
ภาณุ แวมะชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย รางวัลเชิดชูเกียรติ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ธรณีวิทยา
หลุมยุบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาในพื้นที่และหาแนวทางป้องกันอันตรายจากหลุมยุบ จากเหตุการณ์ในปัจจุบันเกิดหลุมยุบเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการสำรวจธรณีฟิสิกส์ด้วยวิธีวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าบริเวรที่เกิดหลุมยุบ จากการตรวจสอบเบื้องต้น หลุมยุบที่เกิดขึ้นมีลักษณะทรงกลม โดยปากหลุมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เมตร ลึกประมาร 2 เมตร มีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นชั้นทรายปนกรวดเนื่องจากการถมพื้นที่ในการสร้างสิ่งก่อสร้าง จึงได้กำหนดแนวสำรวจธรณีฟิสิกส์ 2 แนวสำรวจตัดผ่านบริเวรที่เกิดหลุมยุบ ผลการสำรวจแสดงให้เห็น พื้นที่สำรวจประกอบไปด้วยชั้นดินทรายปนกรวด ปิดทับอยู่บนชั้นดินเหนียวอิ่มตัวด้วยน้ำ และรองรับด้วยชั้นหินปูน แสดงลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ นอกจากนี้พบว่าระยะ 20-60 เมตร ในแนวสำรวจ บริเวณนี้มีดินชั้นบนค่อนข้างบางและสามารถทำให้บริเวรนี้เสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบได้