โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องชุดไทเทรตแบบถอดประกอบ (The knock down Titration Equipment)
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การไทเทรต (Titration) เป็นการปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน (สารละลายที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนแล้ว) ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตรแต่ไม่ทราบความเข้มข้น (Unknown) เพื่อนำค่าปริมาตรที่ได้มาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายนั้นโดยการไทเทรตใช้ชุดไทเทรตในห้องปฏิบัติการ ซึ่งวัสดุส่วนใหญ่ทำจากแก้ว และสามารถแตกหักง่าย ราคาแพง และยากต่อการเคลื่อนย้าย ผู้จัดทำจึงประดิษฐ์ชุดไทเทรตแบบถอดประกอบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ท่อ PVC ขวดแก้ว ปั๊มลม และชุดให้น้ำเกลือ เป็นต้น โดยอาศัยแรงกดอากาศจากปั๊มลม และการหยดจากชุดให้น้ำเกลือ ซึ่งมีหลักการคล้ายกับการไทเทรตในห้องปฏิบัติการโดยเมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพเทียบกับชุดไทเทรตในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนเพียง 0.002 หรือ 0.2% จึงสามารถใช้ชุดไทเทรตแบบถอดประกอบเป็นสื่อการสอนในโรงเรียนที่ห่างไกลได้ เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ง่าย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญาณี โพธิจันทร์
ชุตานันท์ เอี๊ยบกงไชย
หวานใจ โบบทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคตะวันออก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์