โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำหมึกจากสารธรรมชาติ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำหมึกจากสารธรรมชาติเกิดขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้หมึกจากสารเคมี สารเคมีที่ใช้เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะมีทั้งส่วนผสมของผงสีสังเคราะห์และตัวทำละลายอินทรีย์ สารเคมีเหล่านี้อาจทำลายเยื่อบุโพรงจมูกเมื่อสูดดมนาน ๆ และทำให้อากาศมีมลพิษด้วย ดังนั้นจึงมีแนวความคิดที่จะนำสีจากสารธรรมชาติทดแทนน้ำหมึกที่ทำจากสารเคมี โดยคิดถึงสีจากธรรมชาติที่มีอยู่ใกล้ตัวและไม่เป็นอันตราย จึงทำการศึกษาการสกัดสีจากพืชธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น พบว่า จากการสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ บีทรูทได้สารละลายสีแดง กระเจี้ยบแดงได้สารละลายสีม่วง แก้วมังกรได้สารละลายสีชมพู ผักปลังได้สารละลายสีม่วงแดงและดอกอัญชันได้สารละลายสีน้ำเงิน การศึกษาปริมาณที่เหมาะสมในการสกัดสีจากพืชธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น พบว่า การใช้อัตราส่วนสารธรรมชาติ 40 กรัมใช้ตัวทำละลายแอลกอฮอล์ ปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตรได้น้ำหมึกจากสารธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุด การศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการนำน้ำหมึกจากสารธรรมชาติมาใช้ พบว่า การเติมสีผสมอาหารลงไป 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะทำให้ได้สารละลายน้ำหมึกจากธรรมชาติที่เข้มและเมื่อนำไปทดสอบบนกระดาษ สีของน้ำหมึกธรรมชาติสามารถติดสีได้ดี ตัวทำละลายจากน้ำสามารถติดสีได้ดีกว่าตัวทำละลายแอลกอฮอล์ การทดสอบบนไวท์บอร์ด สีของน้ำหมึกธรรมชาติสามารถติดสีได้ดีและสามารถลบออกได้ง่าย ในการใช้ปากกาไวท์บอร์ดโดยการถอดใยสังเคราะห์ออกเปลี่ยนเป็นแท่งสำลีแทนจากการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานน้ำหมึกจากสารธรรมชาติ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หมึกเขียนด้วยปากกาสปีดบอลล์ ปากกาไวท์บอร์ด น้ำหมึกในตลับชาด มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ลัคนา สอดสี

  • สุภาพร ปฏิพัทธปัญญา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทวี เขื่อนแก้ว

  • วรัญญู เรือนคำ

  • สรัญญา เรือนคำ

  • อรรถสิทธิ์ ศรีแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • น้ำหมึกการผลิต

  • สารธรรมชาติ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์