โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการอบพริกด้วยหลักการต่างๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กาญจนา สมบัติอำนวยโชค
รัตนา การเก่ง
สุพัฒน์ชัย ใจช่วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดวงเด่น พิจอมบุตร
ทวี เขื่อนแก้ว
วรัญญู เรือนคำ
สรัญญา เรือนคำ
ไกรสิทธิ์ เปี้ยปลูก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาววิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนบน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาหลักการที่เหมาะสมในการอบพริก ประกอบด้วยรูปทรงภาชนะที่เหมาะสม แบ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงสามเหลี่ยม และทรงกระบอก วัสดุรองพื้น ใช้ แกลบ แกลบดำ ทรายละเอียด ทรายหยาบ และดินดำ ความสูงของวัสดุรองพื้น คือ 2 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร 4 เซนติเมตร และ 5 เซนติเมตร การคลุมพลาสติก คือ พลาสติกใส พลาสติกทึบสีดำพลาสติกใสสีแดง พลาสติกใสสีเหลือง และพลาสติกใสสีเขียว และปริมาณแสงที่เหมาะสม(จากหลอดไฟ) 40 วัตต์ 60 วัตต์ และ100 วัตต์ จากการศึกษาพบว่า ภาชนะรูปทรงสามเหลี่ยม ใช้ แกลบดำเป็นวัสดุรองพื้น ความสูงของแกลบดำ 5 เซนติเมตร พร้อมทั้งคลุมด้วยพลาสติกทึบสีดำและใช้แหล่งกำเนิดไฟจากหลอดไฟธรรมดา 100 วัตต์สามารถอบพริกได้เร็วและเหมาะสมที่สุด และสามารถเป็นแนวทางในการอบพริกในครัวเรือนและชุมชนได้