โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อการกำจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จีรกิตติ์ ตันติ์จธัม

  • พชิร วัฒนาวิทัส

  • วศิน อาฮูยา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การกำจัดของเสีย

  • คราบน้ำมัน การกำจัดของเสีย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อการกำจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำ โดยใช้สิ่งที่เหลือใช้ทางการเกษตร 7 ชนิด คือ ผักตบชวา รำข้าว ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากมะพร้าว แกลบเหลือง แกลบเผา จากการทดลองภาคที่1 เมื่อหาค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดซับคราบน้ำมันทั้งหมดแล้ว พบว่ารำข้าวสามารถดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุดรองลงมาคือ ฟางข้าว กากมะพร้าว ขี้เลื่อย ผักตบชวา แกลบเหลือง แกลบเผา ตามลำดับ จากการทดลองภาคที่2 แกลบเหลืองที่ดูดซับน้ำมันจากสัตว์สามารถให้ค่าพลังงานความร้อนมากที่สุด เหมาะแก่การนำไปทำเชื้อเพลิง อัตราส่วนระหว่างน้ำมัน:น้ำ ควรจะเป็น 1:3 โดยปริมาตร ในขณะที่สารดูดซับมีมวล 10 กรัม และอัตราส่วนระหว่างสารดูดซับ:พาราฟิน ควรจะเป็น 1:3 โดยปริมาตร จากการทดลองภาคที่3 เมื่อทดสอบหาค่าเฉลี่ยของปริมาณสารดูดซับที่สามารถดูดซับน้ำมันชนิดต่างๆที่มีปริมาณ 200 มิลลิลิตร ได้หมดบนผิวน้ำ 1000 มิลลิลิตร พบว่า รำข้าวใช้มวลน้อยที่สุดในการดูดซับน้ำมัน รองลงมาคือ กากมะพร้าว ฟางข้าว ผักตบชวา แกลบเหลือง และขี้เลื่อย ตามลำดับ จากการทดลองภาคที่4 พบว่าฟางข้าวสามารถดูดซับน้ำมันเครื่องเก่าได้ดีที่สุดทั้งจากที่เติมน้ำมันเครื่องลงไปเองหรือจากแหล่งน้ำธรรมชาติในการทดลองภาคที่6 จากการทดลองภาคที่5 พบว่าการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวโพดที่ปลูกในดินที่ไม่ผสมฟางข้าว กับเมล็ดข้าวโพดที่ปลูกในดินที่ผสมฟางข้าวที่ดูดซับน้ำมันมาแล้ว มีการเจริญเติบโตที่ไม่แตกต่างกันแสดงว่าปริมาณน้ำมันที่ถูกฟางข้าวดูดซับไปไม่มีผลต่อการงอก และการเจริญเติบโตของข้าวโพด