โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการทำกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ แบ่งการทดลองเป็นดังนี้ ตอนที่1 ศึกษาวัสดุจากธรรมชาติที่ใช้ทำกระถาง คือ ใยมะพร้าว หญ้าแพรก ฟาง ขี้เลื่อย และแกลบ ตอนที่2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของใยมะพร้าวกับแป้งเปียกที่ใช้ในการทำกระถางเพาะชำ ตอนที่3 ศึกษาระยะเวลาในการคงรูปร่างของกระถางเพาะชำ ตอนที่4 ศึกษาผลของมูลสัตว์ที่นำมาผสมกับกระถางเพาะชำ จากการทดลองพบว่า กระถางเพาะชำจากวัสดุ ธรรมชาติที่ทำจากใยมะพร้าว ในอัตราส่วนระหว่างใยมะพร้าวกับแป้งเปียก เท่ากับ 1:3 มีลักษณะคงทน และมีความสามารถในการยึดเกาะดีที่สุด สามารถดูดซับน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้เฉลี่ย 4.73 นาที และเมื่อผสมมูลวัวลงในกระถางเพาะชำที่ทำจากใยมะพร้าวกับแป้งเปียก ในอัตราส่วนระหว่างใยมะพร้าว : แป้งเปียก เท่ากับ 1:3 พืชเจริญเติบโตได้ดีกว่ากระถางเพาะชำที่ไม่ได้ผสมมูลวัว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤษนัย กัลปะ

  • นนทกร จันทรวรกาญจน์

  • อนุชา คนงานดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิภาพร ประชากุล

  • อุไรวรรณ ศรีสุวรรณาภรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิสุทธรังษี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคกลาง

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สิ่งประดิษฐ์

  • เส้นใย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์