โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการสำรวจซากดึกดำบรรพ์ อายุเพอร์เมียนบริเวณเขาชวนเดื่อ วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทิพยวรรณ เหมือนตาล
นัฐญา รักบ้านเกิด
สุพัตรา ศรีพลอย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชรา สุริยะ
สมใจ สุริยะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ อายุเพอร์เมียน(Permian Period) บริเวณเขาชอนเดื่อ ซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตวนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทองโดยใช้วิธีการเดินสำรวจตามแนวสันเขาเป็นจำนวน 10 ครั้ง โดยแบ่งเส้นทางสำรวจออกเป็น 5 เส้นทางคือ เส้นทาง A, B, C, D และ E ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในเส้นทาง A ได้แก่ ไครนอยด์ Culmicrinus, ไทรโลไบท์, หอยเซฟาโลพอด, หอยบราคิโอพอด ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในเส้นทาง B ได้แก่ ปะการัง Rugosa, หอยบราคิโอพอด ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในเส้นทาง C ได้แก่ หอยพีลีไซพอด, ปะการัง Rugosa, หอยเซฟาโลพอด, ไครนอยด์ Culmicrinus, ไทรโลไบท์, ฟิวซูลินิด ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในเส้นทาง D ได้แก่ ไครนอยด์ Eretmocrinus, หอยเซฟาโลพอด และซากดึกดำบรรพ์ที่พบในเส้นทาง E ได้แก่ ไครนอยด์ Culmicrinus ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ที่พบนี้เป็นสัตว์ทะเล มีอายุในยุคเพอร์เมียน ประมาณ 230-280 ล้านปี ทำให้ทราบว่าในอดีตเทือกเขาชอนเดื่อเคยป็นทะเลมาก่อน