โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องรถเก็บขยะอนุรักษ์พลังงาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุลบุตร คงไทย

  • จิราพร นาคสุข

  • พันทิพา ไหมสุวรรณ

  • อรชร ชูจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วัชรา สุริยะ

  • สมใจ สุริยะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การทดลองนี้เป็นการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาเป็นส่วนประกอบของรถเก็บขยะโดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงใดๆ แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ออกแบบสร้างตัวรถเก็บขยะโดยนำเหล็กฉากยาว 25 เซนติเมตร 2 เส้น และเหล็กแผ่นขนาด 10 x 35 เซนติเมตร 2 แผ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นตัวรถรูปสี่เหลี่ยม นำท่ออลูมิเนียมดัดเป็นรูปตัวยูมาเชื่อมต่อกับตัวรถด้านหลัง นำล้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร 2 อันติดที่พื้นด้านหลังตัวรถ นำล้อจักรยานเล็กจำนวน 2 ล้อ ขนาด 35 เซนติเมตร มาเชื่อมต่อกับเพลาที่มีความยาว 40 เซนติเมตร แล้วใส่บรู้ชขนาด 4 เซนติเมตรพร้อมแหวนรองเข้าไปร้อยต่อกับเพลา นำล้อหน้าและเพลามาเชื่อมติดกับตัวรถทางด้านหน้าโดยใช้เหล็กเส้นยาว 30 เซนติเมตร 2 อัน นำถังเก็บขยะที่ทำด้วยปี๊บสังกะสีมาตัดขอบออก 3 ด้านที่ปากปี๊บให้เหลือขอบด้านที่สี่ยาว 1 เซนติเมตร เพื่อติดแผ่นพลาสติกขนาด 20 x 25 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นลิ้นตักขยะ ตอนที่ 2 ออกแบบใบพัดเก็บขยะที่เหมาะสม โดยศึกษาจำนวนใบพัดและชนิดของวัสดุที่ใช้ทำใบพัดเก็บขยะ พบว่า ใบพัดจำนวน 4 ใบ เก็บขยะได้มากที่สุดและวัสดุที่ดีที่สุดที่ใช้ทำใบพัดเก็บขยะ คือพลาสติกแข็ง(ถังน้ำมันเครื่องขนาดใหญ่) ตอนที่ 3 หาประสิทธิภาพของรถเก็บขยะโดยนำไปใช้งานจริง ตอนที่ 4 ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพรถเก็บขยะ พบว่า รถเก็บขยะอนุรักษ์พลังงานมีประสิทธิภาพสามารถเก็บขยะได้ทุกประเภท รวดเร็วปลอดภัย สะดวกต่อการนำไปใช้ได้ทุกเวลาและสถานที่ สามารถถอดถังเก็บขยะเททิ้งได้อย่างสะดวก