โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารกระตุ้นจากผักโขม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นให้พืชออกรากได้มากและร็วกว่าปกติ โดยเริ่มจากการคัดเลือกพืชที่มีมากและหาง่ายในท้องถิ่นมาทำการหาปริมาณออกซินเพื่อนำมาใช้เป็นสารกระตุ้นรากจากยอดของผักบุ้ง ผักโขม ผักตำลึง ต้นสาบเสือ โดยการนำเอายอดพืชมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผลปรากฏว่า ผักโขมมีออกซินมากที่สุดเมื่อนำเอายอดผักโขมมาสกัดด้วยน้ำในปริมาณต่างๆ นาน 30 นาทีแล้วนำกิ่งพืช (กระดุมทอง, ฤาษีผสม, เฟื่องฟ้า) แช่สารที่สกัดได้ในเวลาต่างกันจะพบว่าสารที่สกัดได้จากการใช้น้ำ 40 cm3 สกัดสารจากผักโขม 2 กรัม เมื่อแช่กระดุมทองและฤาษีผสมในการที่สกัดได้นาน 10-15 นาที และแช่กิ่งเฟื่องฟ้าในสารที่สกัดได้นาน 5 ชั่วโมง จะพบว่าพืชสามารถออกรากได้จำนวนมากและยาวกว่าที่ไม่ได้ใช้สารกระตุ้นราก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทิมา มงคล
วิยดา แสงสว่าง
สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 วิทยาศาสตร์เกษตร ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p75
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักโขม
ออกซิน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์