โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนาฬิกากลให้อาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฆะฤทัย จันทร์ธิบดี
ปฏิพัทธ์ คลังสุวรรณ์
สรพงษ์ คำนาม
อนันตชัย เกตุแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p80
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การให้อาหารสัตว์
นาฬิกากล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากเหตุผลที่ว่า เกษตรกรทางภาคใต้นิยมหันมาเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรมักจะพบปัญหาในเรื่องไม่มีเวลาในการให้อาหารสัตว์ เนื่องจากเวลาในการให้อาหารเป็นเวลาที่เกษตรกรต้องประกอบอาชีพหลัก ดังนั้นจึงได้ออกแบบจำลองเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วยชุดควบคุมเวลาในการให้อาหารกับชุดจ่ายอาหาร โดยชุดควบคุมเวลาในการให้อาหาร ได้ศึกษาหลักการของนาฬิกาปลุกเปรียบเทียบกับนาฬิกาแบบหน้าสัมผัสที่คิดขึ้น พบว่านาฬิกาแบบหน้าสัมผัสสามารถตั้งเวลาได้หลายช่วง และสามารถควบคุมเวลาในการทำงานได้ดีกว่าแบบนาฬิกาปลุกต่อมาได้ศึกษาการตัดกระแสไฟฟ้าในตอนกลางคือโดยอาศัยหลักการแบบรางสับเปลี่ยนและแบบเฟืองตัดกระแสไฟฟ้า พบว่าแบบเฟืองมีประสิทธิภาพในการตัดกระแสไฟฟ้าในตอนกลางคืนได้ดีกว่าแบบรางสับเปลี่ยน โดยใช้แผ่นปริ้นท์เป็นตัวนำไฟฟ้าเชื่อมหน้าสัมผัส เมื่อศึกษารูปแบบของหน้าสัมผัสตั้งเวลาปรากฏว่า แบบตัวที่มีพื้นที่หน้าสัมผัสและความราบเรียบมากกว่าแบบสันมีด ต่อมาได้ศึกษาจุดแตะที่เข็มนาฬิกา โดยเปรียบเทียบระหว่างเข็มนาฬิกาไม่ติดจุดแตะ, จุดแตะแบบสันมีด, จุดแตะแบบลูกกลิ้ง, จุดแตะแบบเส้นลวดเป็นแผง และจุดแตะแบบเส้นลวด 3 เส้น ปรากฏว่าจุดแตะแบบเส้นลวด 3 เส้น เมื่อเคลื่อนที่ผ่านหน้าสัมผัสจะไม่มีประกายไฟเกิดขึ้นและการเดินของเข็มนาฬิกา ไม่ติดขัดเหมือนแบบอื่นๆ หลังจากนั้นเป็นการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบโดยการนำสวิทซ์รีเลย์มาเป็นสวิทซ์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักดิ์สูง สำหรับการตั้งเวลาในระยะยาวได้ใช้เข็มสั้นเพียงเข็มเดียวโดยได้นำสวิทซ์มาเปิด-ปิดการตั้งเวลาเฉพาะเข็มสั้น โดยไม่ต้องใช้เข็มยาวในการตั้งเวลา นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงให้สะดวกในการใช้กับเครื่องไฟฟ้าหรือแบตเตอร์รี่ได้ สำหรับแบบจำลองเครื่องให้อาหารแบบใบพัดท่อตรง, แบบท่อเอียง, แบบแรงดึงแม่เหล็กไฟฟ้า, แบบเกลียว พบว่าแบบแม่เหล็กไฟฟ้ามีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุดและมีส่วนในการทำงานไม่ซับซ้อนต่อมาได้ศึกษารูปแบบของลิ้นในการเปิด-ปิดอาหารของแบบแม่เหล็กไฟฟ้าโดยศึกษาจากลิ้นแบบลูกข่าง และลิ้นในแนวระดับ พบว่าลิ้นในแนวระดับสามารถปิดอาหารได้สนิทกว่าแบบลูกข่าง และสามารถควบคุมความกว้างของลิ้นได้ และเมื่อนำชุดจ่ายอาหารมาประกอบเข้ากับนาฬิกาตั้งเวลาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ