โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ไฟฟ้าจากขยะเปียก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระแสไฟฟ้าจากขยะเปียก ขยะเปียกที่นำมาศึกษานั้นนำมาจากเศษพืชจำนวน 6 ชนิดคือ เปลือกสับปะรด , ผักทดลองรสฝาด , ผักขี้เหล็ก , ผักคะน้า , เปลือกเงาะ และเปลือกมังคุด โดยทำการปั่นเศษพืชแต่ละชนิดให้ละเอียดแล้วผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 3 , 1 : 1 และ 3 : 1 ตัวนำไฟฟ้าที่ใช้มี 3 ชนิด คือ 1. ทองแดงและสังกะสี ทองแดงเป็นศักย์บวก สังกะสีเป็นศักย์ลบ 2. ตะกั่วและสังกะสี ตะกั่วจะเป็นศักย์บว สังกะสีเป็นศักย์ลบ 3. แมกนีเซียมและสังกะสี โดยแมกนีเซียมเป็นศักย์ลบ สังกะสีเป็นศักย์บวก ตัวนำไฟฟ้าทั้งหมดจะมีพื้นที่ผิวเท่ากัน คือ ข้างละ 4.24 cm2 Multimeter ที่ใช้วัดใช้หน่วยความต่างศักย์(V) เป็น 2.5 DCV และให้หน่วยกระแสไฟฟ้า( I ) เป็น 2.5 mA เวลาที่ทำการวัดคือ 20 วัน ผลการทดลองพบว่า พืชขยะเปียกทั้ง 6 ชนิด สามารถแตกตัวเป็นอิออนได้ พืชที่มีค่า pH เป็นกรดจะแตกต่างได้ดีกว่าเป็นเบส ถ้าความเป็นกรดมากขึ้นจะแตกตัวได้ดียิ่งขึ้น และตัวนำที่ดีที่สุดคือ 1. ทองแดงและสังกะสี 2. แมกนีเซียมและสังกะสี สำหรับขยะเปียกที่วัดกระแสได้ผลดีคือ เปลือกสับปะรด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะพงศ์ อินทรสัมพันธ์
พิชัย แซ่เบ้
ศศิศ เชื้อสมบูรณ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(35) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ขยะ พืช
เซลล์ไฟฟ้า
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์