โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาลักษณะพืชอาหารของแมลงแคง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นการศึกษาชนิด ศึกษาสัณฐานวิทยาภายนอก และศึกษาการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของแมลงแคง ตลอดจนสำรวจลักษณะของพืชที่เป็นอาหารของแมลงแคง โดยศึกษาในระหว่างเดือน พ.ค.-ก.ค. โดยทดลองเลี้ยงตัวอ่อนของแมลงแคง พบว่ามีการลอกคราบ 5 ครั้ง จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 45-50 วัน การวางไข่จะวางเรียงเป็นกลุ่ม โดยวางตามใบหรือกิ่งของพืชอาหาร ระยะตัวเต็มวัยมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่แรกมีลักษณะแข็ง หรือหนาเฉพาะโคนปีก ส่วนปลายปีกเป็นแผ่นบาง ปีกคู่หลังจะซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่แรก ลักษณะเป็นเยื่ออ่อนบางใส เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยสารพิษเป็นของเหลวสีน้ำตาล มีกลิ่นฉุนออกทางส่วนอกด้านข้าง จากผลการทดลองพบว่า ตัวอ่อนของแมลงแคงชนิดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของ ตะคร้อ, ตะคร้อหนาม, สะแบง, เทียง, รกฟ้า, หว้า และลำไย เป็นพืชอาหารโดยวิธีดูดกินน้ำเลี้ยง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มยุรี ทองดี
วรรณภา ทองรัตนะ
วรุณี ลันนันท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(26) p67
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
พืช
แมลงแคง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์