โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผู้พิฆาตแมลงศัตรูพืช

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธีระศักดิ์ โชคชัย

  • พรพิมล อกโสม

  • มณีโชติ พลฤทธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(26) p63

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เขียดตะปาด

  • แมลงศัตรูพืช การกำจัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาโครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการศึกษาสัณฐานวิทยาภายนอกรังและการเจริญของเขียดตะปาด ผลการศึกษาพบว่าเขียดตะปาด เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกประเภทตัวห้ำ รูปร่างผอมยาว มีตาพองโปน มีฟันบนเพดานปากและบนกระดูกขากรรไกร ฝ่ามือแบนด้านในมีตุ่มนูนขึ้น ไม่มีแผ่นหนังยึดระหว่างนิ้วมือ พบสร้างรังตามกิ่งไม้ ใบพืชแต่ละรังมีไข่ประมาณ 350-800 ฟอง ใช้เวลาฟัก 4-5 วัน อาหารของลูกอ๊อดคือตะไคร่น้ำ ผลการทดลองเลี้ยงลูกอ๊อดเขียดตะปาดในน้ำ 4 ชุด สรุปได้ว่า น้ำที่แช่ด้วยฟางข้าวแห้ง ทำให้ลูกอ๊อดเขียดตะปาดเจริญเติบโตเป็นเขียดตะปาดได้เร็วที่สุดภายใน 40 วัน รองลงมาคือน้ำที่แช่ใบมะม่วงแห้ง และใบมะขามเทศแห้ง ใช้เวลาเจริญเติบโตภายใน 46 วัน และชุดควบคุมลูกอ๊อดใช้เวลาเจริญเติบโตเป็นเขียดตะปาดภายใน 60 วันตามลำดับ อาหารของเขียดตะปาดคือแมลง จากการศึกษาการเจริญเติบโตของเขียดตะปาดพบว่าระยะที่เป็นตัวห้ำตั้งแต่เขียดตะปาดขึ้นมาอาศัยบนบกจนถึงตัวเต็มวัย จะมีการทำลายหรือควบคุมแมลงศัตรูพืชซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในไร่ สวน แทนการใช้สารเคมีได้เป็นอย่างดี เพราะทำให้ประหยัดและลดต้นทุนในการผลิตที่ต้องเสียไปกับสารเคมี ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ