โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเปลือกหอยนางรม : การปรับคุณภาพน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานที่ทำขึ้นเพื่อการศึกษาการตกตะกอนของสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ ค่า pH ของน้ำ ซึ่งเป็นแนวทางในการนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาปรับคุณภาพของน้ำที่เน่าเสียโดยมีกระบวนการในการศึกษาทดลอง ดังนี้ ศึกษาชนิดของเปลือกหอยที่มีผลต่อการตกตะกอน ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของหอยนางรมที่มีผลต่อการตกตะกอน ศึกษาวิธีการทำให้สารแขวนลอยในน้ำตกตะกอนได้เร็วด้วยเปลือกหอยนางรมบด ศึกษาการเจริญเติบโตของพืชน้ำบางชนิดในน้ำที่กรองด้วยเปลือกหอยนางรมขนาดเล็ก ผลการทดลองพบว่า การวัดมวลตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำเสียจากตลาดสดและน้ำคลอง โดยใช้เปลือกหอยนางรมวัดได้ผลดีที่สุด เปลือกหอยนางรมบดขนาดเล็กสามารถทำให้ตะกอนในน้ำตกตะกอนได้ดี การตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำโดยใช้เปลือกหอยนางรมบดขนาดเล็กในน้ำนิ่งกับในน้ำไหลเวียนพบว่า สภาพน้ำไหลเวียนทำให้เกิดการตกตะกอนได้ดีกว่าสภาพน้ำนิ่ง พืชสามารถเจริญได้ดีในน้ำที่ผ่านการตกตะกอนคือผักบุ้ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฉัฐพร ดวงดารา

  • ณิชากร ศรีพุ่มบาง

  • อังคณา สุขสง่า

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลบุรี "สุขบท"

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์

  • เปลือกหอย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์