โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบวิธีปลูกผักไร้สาร
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของผักบุ้ง เมื่อใช้วีธีการปลูกที่แตกต่างกัน วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ผ้าขาวบาง มุ้งตาข่าย แกลบ ขุยมะพร้าว เปลือกถั่วลิสง ใบสะเดาสดและเมล็ดผักบุ้ง อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ จอบ เสียม ไม้บรรทัด วิธีทำการทดลองโดยทำการปลูกผักบุ้งโดยใช้เมล็ดให้มีสภาวะที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ 1) การปลูกผักบุ้งโดยวิธีกางมุ้งครอบต้นผักบุ้ง 2) ฉีดสารสกัดจากใบสะเดาให้กับต้นผักบุ้งโดยไม่มีการกางมุ้ง ทำการปลูกแบบปกติคือ ไม่มีการกางมุ้ง และไม่ฉีดสารสะเดาให้กับต้นผักบุ้ง โดยแบ่งการปลูกผักบุ้งวิธีละ 40 ต้น ใช้เวลาสังเกตการณ์และบันทึกผล 55 วัน ผลการทดลองพบว่า ผักบุ้งที่ปลูกโดยวิธีกางมุ้งจะมีความสูงของลำต้นมากที่สุด รองลงมาคือวิธีการปลูกแบบปกติ และการปลูกโดยฉีดสารสกัดจากสะเดาตามลำดับ และการปลูกผักบุ้งโดยวิธีกางมุ้งจะให้จำนวนใบมากที่สุด รองลงมาคือการปลูกโดยฉีดสารสกัดจากสะเดา และการปลูกโดยวิธีปกติตามลำดับ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จักรพันธุ์ แก้วกัณหา
พัชราพรรณ พงษ์ธนู
เปรมฤทัย อุ่นเรือน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชยที่ 1 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผักบุ้ง
สารสกัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์