โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการสำรวจหอยโข่งที่มีพยาธิแองจิโอสตรองไจรัส บริเวณแหล่งน้ำชุมชน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การสำรวจหอยโข่งที่มีพยาธิแองจิโอสตรองไจรัส บริเวณแหล่งน้ำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพยาธิในหอยโข่งบริเวณแหล่งน้ำชุมชน 6 แห่ง บริเวณแหล่งน้ำชุมชนบ้านดอนตูม ชุมชนวัดโพธิ์ศรี ชุมชนวัดป่าประชาบำรุง ชุมชนศรีสวัสดิ์ ชุมชนบ้านส่องนางใย ชุมชนแก่งเลิงจาน นำผลการสำรวจที่ได้นำมาเปรียบเทียบความชุกชุมของหอยที่พบพยาธิ Angiostrongylus cantonensis จากนั้นจึงนำผลการสำรวจไปเป็นแนวทางเพื่อเผยแพร่ กับชุมชนที่ทำการสำรวจ วิธีการดำเนินการสำรวจตัวอย่างหอยโข่งจากแหล่งน้ำชุมชนทั้ง 6 ชุมชน 2 ปีการศึกษาคือปีการศึกษา 2544 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม ถึง 30 กรกฎาคม 2544 และปีการศึกษา 2545 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 13 มิถุนายน 2545 การสำรวจแบ่งได้ 3 ขั้นตอนดังนี้ ตอน 1 ทำการสำรวจหอยโข่งที่พบพยาธิ Angiostrongylus cantonensis ในแหล่งน้ำชุมชน 6 แหล่ง 1.1 ปีการศึกษา 2544 บริเวณแหล่งน้ำชุมชนที่พบหอยมีพยาธิคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้ -บริเวณแหล่งน้ำบ้านดอนตูม ชุมชนบ้านดอนตูม คิดเป็น 48.0% -บริเวณแหล่งน้ำห้วยคะคาง ชุมชนวัดโพธิ์ศรี คิดเป็น 28.7% -บริเวณแหล่งน้ำชลประทาน ชุมชนวัดป่าประชาบำรุง คิดเป็น 27.3 % -บริเวณแหล่งน้ำคลองสมถวิล ชุมชนศรีสวัสดิ์ คิดเป็น 15.7% -บริเวณแหล่งน้ำกุดนางใย ชุมชนบ้านส่องนางใย คิดเป็น 6.7% -บริเวณแหล่งน้ำแก่งเลิงจานชุมชนแก่งเลิงจาน คิดเป็น 10.5% 1.2 ปีการศึกษา 2545 บริเวณแหล่งน้ำชุมชนที่พบหอยมีพยาธิคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้ -บริเวณแหล่งน้ำบ้านดอนตูม ชุมชนบ้านดอนตูม คิดเป็น 38% -บริเวณแหล่งน้ำห้วยคะคาง ชุมชนวัดโพธิ์ศรี คิดเป็น 30% -บริเวณแหล่งน้ำชลประทาน ชุมชนวัดป่าประชาบำรุง คิดเป็น 12 % -บริเวณแหล่งน้ำคลองสมถวิล ชุมชนศรีสวัสดิ์ คิดเป็น 9%-บริเวณแหล่งน้ำกุดนางใย ชุมชนบ้านส่องนางใย คิดเป็น 6% -บริเวณแหล่งน้ำแก่งเลิงจานชุมชนแก่งเลิงจาน คิดเป็น 8% ตอน 2 นำแบบสอบถามเรื่องการรับประทานหอยโข่งดิบให้ผู้ที่อยู่อาศัยทั้ง 6 ชุมชน กรอกแบบสอบถาม ชุมชนละ 30 คน ผลปรากฎดังนี้ ชายในเกณฑ์อายุ 20-30 ปี นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 34.4% ชายในเกณฑ์อายุ 30-50 ปี นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 20.6% ชายในเกณฑ์อายุ 50 ปีขึ้นไป นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 19.4% หญิงในเกณฑ์อายุ 20-30 ปี นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 6.7 % หญิงในเกณฑ์อายุ 30-50 ปีนิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 11.1% หญิงในเกณฑ์อายุ 50 ปีขึ้นไปนิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 7.8% ตอน 3 นำเอกสารความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง(โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) พร้อมนำแบบสอบถาม ชุด 2 เรื่องการรับประทานหอยโข่งดิบ หลังจากที่ได้รับความรู้ ผลปรากฎดังนี้ ชายในเกณฑ์อายุ 20-30 ปี นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 9.4% ชายในเกณฑ์อายุ 30-50 ปี นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 3.3% ชายในเกณฑ์อายุ 50 ปีขึ้นไป นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 7.2% หญิงในเกณฑ์อายุ 20-30 ปี นิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 1.1 % หญิงในเกณฑ์อายุ 30-50 ปีนิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 2.2% หญิงในเกณฑ์อายุ 50 ปีขึ้นไปนิยมรับประทานหอยโข่งดิบ คิดเป็น 4.4 % เพื่อเป็นการลดอัตราการป่วยของโรคพยาธิ (โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) อันเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขอีกประการหนึ่ง จึงควรหันมารับประทานอาหารที่สุก สะอาด เพื่อสุขภาพที่ดี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑามาศ สีสาร
ฐิติรัตน์ จันทร์แสงศรี
นันทกา มหันต์สุคนธ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชรินทร์ รุ่งรัศมี
วรรณวิภา วิมลชัยฤกษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์