โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการลดความเค็มของดินโดยใช้แกลบและฟางข้าว

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาการลดความเค็มของดิน โดยแบ่งการทดลองเป็น 3 ตอนดังนี้ ตอนที่1 สำรวจพื้นที่ดินเค็มในจังหวัดมหาสารคาม พบว่าพื้นที่ดินเค็มได้แก่ อำเภอวาปีปทุม อำเภอบรบือ และอำเภอแกดำ และศึกษาเศษพืชที่มีคุณสมบัติในการลดความเค็มของดินได้ พบว่า แกลบและฟางมีคุณสมบัติในการลดความเค็มของดิน ตอนที่2 หาปริมาณโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)ในดิน 100%, ดินผสมฟางข้าวไม่เผาในอัตราส่วน 70 : 30 และ ดินผสมแกลบไม่เผา ในอัตราส่วน 60 : 40 โดยใช้สารละลายซิลเวอร์ไนเตรต จากการทดลองพบว่า ปริมาณสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตที่ใช้ เท่ากับ 6.35 ลูกบาศก์เซนติเมตร, 4.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร และ1.36 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้นดินผสมแกลบเผาอัตราส่วน 60 : 40 ช่วยลดความเค็มของดินได้สูงสุด ตอนที่ 3 ทดสอบความเค็มของดินโดยดูการเจริญเติบโตของต้นข้าว จากการทดลองพบว่า ต้นข้าวจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดใน ดินผสมแกลบไม่เผา ในอัตราส่วน 60 : 40 ซึ่งต้นข้าวมีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 55 เซนติเมตร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤช เรืองสุวรรณ

  • สายฝน จันทะจร

  • อรอนงค์ อุปแสน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิตยา แซ่ซิ้ม

  • พัชรินทร์ รุ่งรัศมี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสารคามพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ดินเค็ม

  • แกลบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์