โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลิตภัณฑ์จากกระดาษกาบกล้วย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษกาบกล้วย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพและปริมาณของเส้นใยพืช เพื่อที่จะนำพืชที่เหมาะสมทั้งด้านคุณภาพและปริมาณไปผลิตเป็นกระดาษและผลิตภัณฑ์ การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอน 1 1.1 เป็นการทดลองเบื้องต้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพและปริมาณของเส้นใยพืชทั้ง 5 ชนิดคือ กาบกล้วย ใยข่อย ใยหม่อน ผักตบชวา และใยบัวแดง ทำเป็นกระดาษขนาด 15 x 20 cm ต่อความทน ต่อแรงดึงและการซึมน้ำมากที่สุด ผลการทดลองพบว่ากาบกล้วยเหมาะที่จะนำมาทำเป็นกระดาษ เนื่องจากมีความทนต่อแรงดึง 8N รองลงมาคือ 6N, 5N, 3N, 2N ตามลำดับ เมื่อทดสอบความทดต่อความซึมของน้ำ ผลการทดลองพบว่ากระดาษจากกาบกล้วยใช้เวลา 90 วินาที รองลงมาคือ ผักตบชวา 60 วินาที ใยบัวแดง 60 วินาที ใยข่อย 10 วินาที และใยหม่อน 10 วินาที ตามลำดับ 1.2 ศึกษาและเปรียบเทียบ กรดแอซิติก 5% น้ำมะนาว 5 % น้ำมะขามเปียก 5 % มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีของเส้นใยพืชทั้ง 5 ชนิด ผลการทดลองพบว่า กรดแอซิติกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้นใยของพพืชทั้ง 5 ชนิด คือกาบกล้วย ผักตบชวา ใยข่อย ใยหม่อน และใยบัวแดง มีสีจางลงจากผลการทดลองตอน 1 ผู้จัดทำโครงงานได้เลือกกาบกล้วยเป็นวัตถุดิบและกรดแอซิติกในการทดลองในขั้นตอนต่อไป ตอน 2 เป็นการศึกษาและเปรียบเทียบความเข้มข้นที่ดีที่สุด ของกรดแอซิติก สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่ระดับความเข้มข้นต่างกันคือ 0%, 5%, 10% 15%, 20% ว่าที่ระดับความเข้มข้นใดเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการทำกระดาษมากที่สุดผลการทดลองพบว่า 2.1กรดแอซิติก ที่แช่กาบกล้วยเวลา 15 นาที ที่ระดับความเข้มข้น 20% มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีของกาบกล้วยที่ดีที่สุด คือ กาบกล้วยมีสีจางลง รองลงมาคือ 15%, 10%, 5%, 0% ตามลำดับ แต่เนื่องจากที่ระดับความเข้มข้น 20%, 15% และ 10% มีผลการทดลองใกล้เคียงกัน ผู้จัดทำโครงงานจึงเห็นว่า ที่ระดับความเข้มข้น 10% เหมาะที่จะนำมาใช้ผลิตกระดาษมากที่สุด 2.2 สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ต้มกาบกล้วยเวลา 2 ชั่วโมง ที่ระดับความเข้มข้น 20% มีผลต่อการเปื่อยยุ่ยของกาบกล้วยที่ดีที่สุด คือกาบกล้วยใช้เวลาในการเปื่อยยุ่ยน้อยที่สุด รองลงมาคือ 15%, 10%, 5%, 0% ตามลำดับ แต่เนื่องจากที่ระดับความเข้มข้น 20%, 15% และ 10% มีผลการทดลองใกล้เคียงกัน ผู้จัดทำโครงงานจึงเห็นว่า ที่ระดับความเข้มข้น 10% เหมาะที่จะนำมาใช้ผลิตกระดาษมากที่สุด 2.3 สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่ฟอกจางสีเวลา 30 นาที ที่ระดับความเข้มข้น 20 % มีผลต่อการฟอกจางสีของกาบกล้วยที่ดีที่สุด คือกาบกล้วยมีความขาวมากที่สุด รองลงมาคือ 15%, 10%, 5%, 0% ตามลำดับ แต่เนื่องจากที่ระดับความเข้มข้น 20%, 15% และ 10% มีผลการทดลองใกล้เคียงกัน ผู้จัดทำโครงงานจึงเห็นว่า ที่ระดับความเข้มข้น 10% เหมาะที่จะนำมาใช้ผลิตกระดาษมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตอน 3 ศึกษาและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากกระดาษกาบกล้วยที่ผสมแป้งมันกับไม่ผสมแป้งมันโดยใช้แป้งมัน 20 กรัมต่อเยื่อเยื่อกระดาษ 100 กรัม ผลการทดลองพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผสมแป้งมันมีความมันวาวและความสวยงามมากกว่า เหมาะสำหรับที่จะนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่อไป
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กรองกาญจน์ ภูธาตุเพชร
วรรณภา วิสัย
ศิริพร ราชรามแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ
ผลิตภัณฑ์กระดาษ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์