โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องปอกเยื่อถั่ว

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน ให้สะดวก รวดเร็ว และลดอัตราการใช้แรงงานคนในการทำงาน การทดลองมีขั้นตอนดังนี้ คือ ขั้นที่ 1ประดิษฐ์ตัวเครื่องด้วยเหล็กขนาด 1 นิ้ว ซึ่งนำมาประกอบติดกันโดยมีบานพับเชื่อมต่อสามารถเปิด-ปิดได้ ขั้นที่ 2 ประดิษฐ์ถังใส่ถั่วลิสงโดยนำแผ่นเหล็กที่มีรูสำเร็จรูปมาทำเป็นตัวถังให้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปิดหัวท้าย แต่ด้านข้างสามารถเปิด-ปิดได้ นำตัวถังที่ได้ไปเชื่อมยึดติดกับแกนเพลา ขั้นที่ 3 ประกอบเครื่อง โดยนำตัวถังที่ได้ไปยึดติดกับแกนของล้อและนำไปติดตัวแบบเครื่อง จากนั้นไปต่อสายพานกับมอเตอร์ที่ติดไว้ และนำพัดลมไปติดด้านท้ายของตัวถังอีกด้านหนึ่ง และนำไปติดไม้อัดและต่อวงจรไฟฟ้าให้เรียบร้อย จะได้เครื่องปอกเยื่อถั่วลิสง ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องโดยการนำถั่วลิสงที่ปอกเปลือกชนิดแข็งออกแล้ว นำไปใส่ในตัวถังจากนั้นเปิดสวิตซ์ มอเตอร์จะทำให้ตัวถังและใบพัดลมหมุน เพื่อพัดนำเยื่อถั่วลิสงออก ขณะที่ตัวถังหมุนจะมีการเสียดสีกันของเยื่อถั่ว ทำให้เยื่อถั่วหลุดออกจากเมล็ดถั่ว จากการทดสอบพบว่า เครื่องปอกเยื่อถั่วมีประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถลดระยะเวลาในการทำงานได้โดยใช้เวลา 15 นาที ในการปอกเยื่อถั่วลิสง ปริมาณ 3 กิโลกรัม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณรงศักดิ์ ตัญญาภักดิ์

  • วิษนุวรรธน์ ทีน้อย

  • อุเทน ทักคุ้ม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พิเชษฐ์ จันทร์ผ่อง

  • มาโนช บานทอง

  • อรชร ศรีสะอาด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์